รู้หลักเกณฑ์ใหม่ มาตรการ LTV กรณีกู้ร่วม

2091
มาตรการ LTV

ก่อนจะเริ่มต้นการกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ผู้กู้จำเป็นต้องเตรียมเงินสดนับแสนบาทไว้เพื่อดาวน์บ้าน จึงจะสามารถขอกู้และผ่อนกับธนาคารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพิ่งบังคับใช้เมื่อไม่นานมานี้

Property_Finance_Condo_Loan_sts_1372683893

จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวส่งผลกระทบกับผู้ที่กำลังเก็บเงินซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมในตอนนี้ รวมถึงผู้ที่กำลังชั่งใจว่าจะกู้ร่วมกับคู่รัก สามี หรือคนในครอบครัวดีหรือไม่ เพราะกลัวว่าจะนับเป็นที่อยู่อาศัยหลังที่สองขึ้นไปซึ่งเข้าเกณฑ์ต้องวางเงินดาวน์สูงขึ้นจากเดิม

โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทาง ธปท. เพิ่งออกหลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการกู้ร่วม ซึ่งช่วยให้ผู้กู้ร่วม หรือผู้ที่กำลังเตรียมตัวเตรียมใจจะเป็นหนึ่งในการกู้ร่วมเบาใจได้ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นลองมาทำความรู้จักเงินดาวน์ก่อนว่าหมายความว่าอย่างไร 

เงินดาวน์คืออะไร

เงินดาวน์ ภาษาอังกฤษคือ Down Payment เป็นเงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กับผู้ขายเมื่อต้องการผ่อนชำระทรัพย์สินมูลค่าสูง โดยผู้ซื้อจะจ่ายเงินดาวน์มากกว่าหรือเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ขายกำหนดไว้ก็ได้ และยิ่งจ่ายดาวน์เยอะขึ้น จำนวนเงินที่จะต้องกู้ก็ยิ่งลดลง โดยเงินก้อนนี้มักจะถูกใช้ในการซื้อขายสินทรัพย์ 2 กลุ่ม ดังนี้

เงินดาวน์บ้าน

เงินดาวน์บ้าน คือ เงินก้อนที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กับโครงการเมื่อขอกู้บ้านหรือคอนโดมิเนียมกับธนาคาร หากบ้านที่ต้องการซื้อยังไม่พร้อมโอนกรรมสิทธิ์ ก็สามารถขอผ่อนดาวน์บ้านได้ด้วย โดยขึ้นอยู่กับการตกลงกับผู้ขาย และเงินดาวน์บ้านก็คือสิ่งที่จะมาพูดถึงรายละเอียดกัน

Advertisement

มาตรการ LTV กับหลักเกณฑ์เงินดาวน์ขั้นต่ำ

ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้บังคับใช้หลักเกณฑ์กำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยฉบับใหม่ โดยกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value หรือ LTV) ของการกู้ซื้อบ้านและคอนโดมิเนียมทั้งมือหนึ่งและมือสอง โดยมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรก

  • บ้านราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ต้องวางเงินดาวน์ 5%
  • บ้านราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ต้องวางเงินดาวน์ 20% 
  • คอนโดมิเนียมราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ต้องวางเงินดาวน์ 10%
  • คอนโดมิเนียมราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ต้องวางเงินดาวน์ 20%

เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2

  • บ้านและคอนโดมิเนียมราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และผ่อนชำระที่อยู่อาศัยแห่งแรกมากกว่า 3 ปี ต้องวางเงินดาวน์ 10% 
  • บ้านและคอนโดมิเนียมราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และผ่อนชำระที่อยู่อาศัยแห่งแรกน้อยกว่า 3 ปี ต้องวางเงินดาวน์ 20% 
  • บ้านและคอนโดมิเนียมราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ต้องวางเงินดาวน์ 20%

เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 3

  • บ้านและคอนโดมิเนียมทุกระดับราคา ต้องวางเงินดาวน์ 30%

หลักเกณฑ์ใหม่ผ่อนเกณฑ์ มาตรการ LTV สำหรับกู้ร่วม

เข้ามาที่ประเด็นหลักของเรา สำหรับผู้ที่กู้ร่วมสามารถเบาใจได้ เพราะหลังจาก มาตรการ LTV มีผลบังคับใช้ และได้รับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาได้รับสินเชื่อตามความเหมาะสมมากขึ้น

ธปท. จึงพิจารณาผ่อนปรนการนับสัญญากรณีกู้ร่วม โดยถ้าผู้กู้ไม่มีชื่อเป็นกรรมสิทธิ์ จะผ่อนปรนเสมือนยังไม่เป็นผู้กู้ในครั้งนั้น เนื่องจากไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัย เพียงแค่ช่วยเหลือกันภายในครอบครัว โดยมีรายละเอียดดังนี้

กรณีที่มีการกู้ร่วม จะให้นับสัญญาการกู้ร่วมอย่างไร

กรณีที่มีการกู้ร่วมจะนับสัญญาอย่างไรนั้น ขอยกตัวอย่างดังนี้

กรณีที่ 1: ผู้กู้ A มีสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว 1 สัญญา และในครั้งนี้มาขอกู้ร่วมกับ B ซึ่ง B ยังไม่เคยกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมาก่อน

กรณีที่ 2: ผู้กู้ A และ B กู้ร่วมมาก่อน และในครั้งนี้ B มาขอกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 

หลักการนับสัญญาสำหรับการกู้ร่วมให้นับสัญญาตามผู้กู้ที่มีกรรมสิทธิ์บนที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลัก กล่าวคือ

ในกรณีที่ 1: หากทั้ง A และ B มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยสำหรับการกู้ร่วม ให้นับสัญญาการกู้ร่วมดังกล่าวเป็นสัญญาที่ 2 ของ A (LTV 90% หรือ 80%) แต่หากกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยที่กู้ร่วมในครั้งนี้เป็นของ B แต่เพียงผู้เดียว จึงถือว่าสัญญาการกู้ร่วมในครั้งนี้ เป็นสัญญาแรกของ B และไม่นับเป็นสัญญาที่ 2 ของ A

ในกรณีที่ 2: ในการกู้ร่วมครั้งแรก หาก A มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแต่เพียงผู้เดียว จะนับสัญญาที่กู้ร่วมเป็นสัญญาแรกของ A โดยไม่นับเป็นสัญญาแรกของ B ดังนั้น ในการกู้เดี่ยวของ B ในครั้งนี้ จะนับเป็นสัญญาแรกของ B แต่หากในการกู้ร่วมครั้งแรก B มีกรรมสิทธิ์ร่วมในที่อยู่อาศัยดังกล่าวด้วย ก็จะนับสัญญาการกู้เดี่ยวของ B ในครั้งนี้ เป็นสัญญาที่ 2

LTV-Co-loan

รายละเอียดเพิ่มเติม: สนส.24/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ข้อ 18)

ที่มา : https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/รู้หลักเกณฑ์ใหม่มาตรการ-LTV-กรณีกู้ร่วม-17526

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23