ทำความเข้าใจและรับมือกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ ปี 2563

5266
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2 ปีแรก

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่ เป็นกฎหมายที่เข้ามาแทนภาษีโรงเรีอนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ โดยภาษีที่ดินใหม่นี้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ มีนาคม 2562 และเริ่มจัดเก็บตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นมา

วัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนและแก้ไขปัญหาภาษีที่ดินเดิม กระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน กระจายความเจริญสู่พื้นที่ท้องถิ่น ช่วยลดความเลื่อมล้ำในสังคมและลดปัญหาผู้ที่ถือที่ดินเพื่อเก็งกำไร อย่างไรก็ตามการเก็บภาษีที่ดินแบบใหม่จะทำให้รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้นจากเดิม

รัฐบาลออกมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อช่วยลดภาระของประชาชนจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ถึง 90% ซึ่งผู้เสียภาษีจะจ่ายเพียง 10% ของยอดชำระที่คำนวณได้

อัตราการจัดเก็บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ใน 2 ปีแรก

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คิดยังไง จ่ายเท่าไร

ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดิน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะเรียกเก็บจากบุคคลต่อไปนี้

  • เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
  • ผู้ครอบครองทรัพย์หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ
  • เจ้าของห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม

การคิดคำนวณ สิ่งจำเป็นที่ต้องรู้กับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่ที่มีความซ้ำซ้อนมากกว่าเดิม ซึ่งจะต้องคิดแยกกันระหว่างที่ดินกับสิ่งปลูกสร้าง (อาคาร,บ้าน) โดยจะคิดจากราคาประเมินและราคาของพื้นที่ประเมินเป็นหลัก เราสามารถคำนวณราคาภาษีที่ต้องจ่ายแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีดังนี้

Advertisement
  • มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง – มูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับการยกเว้น = มูลค่าของฐานภาษี
  • มูลค่าของฐานภาษี x อัตราภาษี = ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

เพื่อเป็นบรรเทาภาระทางภาษี จึงมีการกำหนดบทเฉพาะการการจัดเก็บภาษีในช่วง 2 ปีแรก ปี 2563 – 2564 ดังนี้

1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ประกอบเกษตรกรรม

  • มูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 75 ล้านบาท เก็บภาษี 0.01%
  • 75-100 ล้านบาท จัดเก็บ 0.03%
  • 100-500 ล้านบาท เก็บ 0.05%
  • 500-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.07%
  • เกิน 1,000 ล้านบาท เก็บ 0.1%

2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของบุคคลธรรมดาให้เป็นที่อยู่อาศัยมีชื่อในทะเบียนบ้าน

  • มูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 25 ล้านบาท จัดเก็บ 0.03%
  • 25-50 ล้านบาท เก็บ 0.05%
  • เกิน 50 ล้าน บาทขึ้นไป เก็บ 0.1%

3. สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน

  • มูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 40 ล้านบาท ภาษี 0.02%
  • 40-65 ล้านบาท เก็บ 0.03%
  • 65-90 ล้านบาท เก็บ 0.05%
  • เกิน 90 ล้านบาทขึ้นไป เก็บ 0.1%

4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย กรณีอื่นนอกจากอยู่อาศัยตามข้อ 2. และ 3. 

  • มูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บ 0.02%  
  • 50-75 ล้านบาท เก็บ 0.03%
  • 75-100 ล้านบาท เก็บ 0.05%
  • เกิน 100 ล้านบาท จัดเก็บ 0.1%

5. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมและอยู่อาศัย 

  • มูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บ 0.03%
  • 50-200 ล้านบาท เก็บ 0.4%
  • 200-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.5%
  • 1,000-5,000 ล้านบาท เก็บ 0.6%
  • เกิน 5,000 บาทขึ้นไป เก็บ 0.7%

6. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ควรแก่สภาพ เก็บภาษี 0.3-3% ของราคาประเมิน และเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก 3 ปี ต่อเนื่อง ไม่เกิน 27 ปี หรือจนกว่าจะมีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน

สำหรับผู้ที่เสียภาษีสูงกว่าภาษีโรงเรือนเดิม ให้จ่าย 25%, 50%, 75% ของส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น ในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ ส่วนในปีที่ 4 คิดเต็มจำนวน 100%

นอกจากนี้ในปี 2565 เป็นต้นไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดอัตราการจัดเก็บภาษีเองได้โดยต้องไม่สูงกว่าอัตราที่กำหนด ดังนี้ เกษตรกรรม อัตราไม่เกิน 0.15% ที่อยู่อาศัย อัตราไม่เกิน 0.3% พาณิชยกรรม อัตราไม่เกิน 1.2% และที่ดินว่างเปล่า อัตราไม่เกิน 1.2% โดยผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีภายในวันที่ 30 เมษายนของทุกปี

อ่าน ผลกระทบจากการเก็บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ใหม่ ได้ที่นี้

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23