ถอดบทเรียน ‘อิตาลี’ ประเทศที่มีการเติบโตของเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก

15795

‘กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว’ หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินประโยคนี้ เพื่อเปรียบเปรยถึงบางสิ่งบางอย่างที่ต้องใช้เวลาและอดทนในการทำหรือสรรสร้างให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ไว้เปรียบเปรยกับการทำงาน อิตาลีก็เช่นกัน เพราะในทางเศรษฐกิจอิตาลีถือเป็น 1 ในประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางในเศรษฐกิจมากที่สุดในโลกด้วยธุรกิจSME ซึ่งทำให้อิตาลีมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก

วันนี้ไนท์แฟรงค์ ตีตั๋วพาไปดูเรื่องราวของเศรษฐกิจแห่งเมืองรองเท้าบทธมาฝากกัน

ถ้าถามประเทศที่เด่นในทุกเรื่องจนครบรอบด้าน จะไม่พูดถึงอิตาลีไม่ได้เลย ที่มีดีในทั้งทางการค้า อุตสาหกรรม การส่งออก ศิลปะวัฒนธรรม และในด้านของอาหาร ซึ่งอิตาลีก็มีความคล้ายกับเมืองไทยอยู่หลายอย่างเลยในหลายๆด้านทั้งอาหาร การใช้ชีวิตเริ่มต้นแบบชิวๆ สบายๆ และสุดท้ายไปตายเอาดาบหน้า ตามแบบฉบับนักปฏิบัตินิยม หรือเรียกสั้นๆง่ายๆ ว่า ทำงานแบบไม่เน้นระบบ แต่เน้นลงมือทำ และไม่มีสูตรตายตัวนัก

ประเทศอิตาลี

Credit; Unsplash

อิตาลีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากที่สุด โดยมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก (และอันดับ 3 ในสหภาพยุโรป) หากวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) รวมทั้งมีทองคำสำรองในธนาคารมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก และมีคุณภาพชีวิตประชากรสูง จากการมีระบบการศึกษาและสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจในด้านการทหาร, การทูต, การค้า และอุตสาหกรรม โดยมีขนาดกองทัพใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก อิตาลีเป็นหนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรป และยังเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ, เนโท, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, องค์การการค้าโลก, กลุ่ม 7, กลุ่ม 20, สหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน, สภายุโรป และพื้นที่เชงเกน อิตาลียังเป็นต้นกำเนิดของสิ่งประดิษฐ์และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์มากมาย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางศิลปะ, ดนตรี, วรรณกรรม, ปรัชญา และแฟชั่น และมีอิทธิพลต่อวงการบันเทิงโลก และยังมีจุดเด่นในด้านอาหาร, กีฬาและธุรกิจ รวมทั้งเป็นแหล่งสะท้อนความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม โดยเป็นประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดในโลก (58 แห่ง และมีนักท่องเที่ยวมากที่สุด – ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

ต้องบอกเลยว่า ชาวอิตาลีมี Passion ในการใช้ชีวิตสูงมาก และการใช้ชีวิตตามแนวทางนี้นั่นเองที่ทำให้อิตาลีเริ่มต้นรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันหลังสงคราม นโปเลียน ระหว่างปี 1820-1840 ซึ่งเป็นช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมตอนนั้นอังกฤษรุ่งเรืองในด้านอุตสาหกรรมมาก แต่อิตาลียังรบกันอยู่ จนสุดท้ายจึงเกิดการรวมชาติกันอีกครั้งโดยปราศจากการรบจนประเทศเริ่มมีความมสงบสุข แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีชื่อประเทศ เพราะเป็นการรวมชาติที่เกิดจากการนำผู้คนที่มีการใช้ชีวิตเหมือนกัน ภาษาคล้ายกัน แต่ยังไม่พูดภาษาเดียวกันมาอยู่ด้วยกัน จนกระทั่งมีการประดิษฐ์ภาษาอิตาลีเป็นของตัวเองได้ ชื่อประเทศจึงมาตอนนั้น ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า “อิตาเลีย”(Italia) คือเป็นชื่อที่ชาวโรมันตั้งให้กับคาบสมุทรแห่งนั้น จึงได้ชื่อว่า อิตาลี จนถึงทุกวันนี้ และอิตาลีรวมชาติสำเร็จในปี 1871 นับเป็นช่วงก่อร่างสร้างตัวของประเทศ

Advertisement

จุดเปลี่ยนด้านการเมืองและเศรษฐกิจ 

Milan, Italy

ในช่วงฟื้นฟูประเทศหลังการล่มสลายของราชวงศ์และพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่2 สิ่งที่เป็นการบ้านใหญ่ของประเทศนี้คือ การเมืองและเศรษฐกิจ แล้วสิ่งที่ประเทศได้รับในช่วงเวลาหลังสงครามโลกก็คือ  Marshall Plan หรือเรียกอีกอย่างว่า โครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริการแก่ยุโรปตะวันตก ซึ่งอิตาลีถือว่าเป็นประเทศที่มีมุมมองในการจัดสรรเงินอย่างได้ยอดเยี่ยม จากผลสำรวจอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจหลังจาก 12 ปีให้หลัง 1950-1962 พบว่าเศรษฐกิจของอังกฤษ และฝรั่งเศสเติบโต 130% ในขณะเดียวกันอิตาลีมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 253% ซึ่งเป็นที่มาที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” (Miracolo Economico Italiano) ของอิตาลี และในปี 1986 ก็สามารถแซงประเทศอังกฤษได้สำเร็จ นั่นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากว่าอิตาลีทำอะไรกับเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่การเมืองล้มเหลวไม่เป็นท่า

Entrepreneurial Spirit สร้างเศรษฐกิจ

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นเศรษฐกิจที่เติบโตสูงถึง 253% เราจะมาอธิบายกันว่า อะไรที่ทำให้เศรษฐกิจของอิตาลีเติบโตได้สูงกว่าอังกฤษ เมื่อทศวรรษ 50 ที่ผ่านมา อะไรที่เป็นสินค้าราคาถูก และเป็นสินค้าที่ไม่ซับซ้อนนัก อิตาลีรับรับผลิตหมดทุกอย่าง เช่น รถขับเคลื่อนล้อหน้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างเช่นเครื่องซักผ้าและตู้เย็น เนื่องจากค่าแรงมีราคาถูก และตัวดัชนีชี้วัดว่าอิตาลีมีกินมีใช้ในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ นับจากจำนวนครัวเรือนที่ถือครองเครื่องซักผ้าและตู้เย็นว่ามีมากแค่ไหน ซึ่งในช่วงเวลานั้นแบรนเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่น หรือจีนยังไม่เข้ามาในยุโรป อิตาลีในตอนนั้นถือว่าประสบความสำเร็จในด้านเศรษฐกิจในฝั่งยุโรปเป็นอย่างมาก

Vespa (แปลว่า ตัวต่อ) ถือเป็นหนึ่งในผู้พลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยบริษัท Piaggio บริษัทผู้ผลิตเรือดำน้ำ เครื่องบินในช่วงสงคราม ระดมสมองกันหารือในด้านการคมนาคมที่ลำบาก เพราะถนนในยุคนั้นยังไม่ได้รับการฟื้นฟูทั้งลูกรัง เล็กและแคบ ทำให้การเดินทางลำบาก จึงคิดผลิตรถเนื่องจากมีทรัพยากรทางความรู้และบุคคลที่พร้อมอยู่แล้ว โดยเลียนแบบจากรถสกูสเตอร์ของทหารอเมริกันในยุคนั้น แล้วนำออกไปเสนอให้กับ Piaggio รุ่นที่ 2 หลังจากได้เห็นโมเดลของรถรุ่นนี้แล้วเขาก็อุทานมันออกมาว่า ‘oh è una vespa'(โอ้ นี่มันรูปร่างอย่างกับตัวต่อเลย) หลังจากนั้นชื่อนี้ก็ได้ถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลในด้านเศรษฐกิจของอิตาลีในช่วงเวลานั้น ทั้งนี้ ยังมี FIAT, สินค้าแฟชั่น, อุสาหกรรมอาหารอื่นๆ เป็นต้น

ด้านอาหาร

Credit; Unsplash

ชาวอิตาลีให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารมากๆ เพระาเป็นช่วงเวลาสำคัญของครอบครัวที่ได้อยู่ร่วมกัน รวมไปถึงการได้สังสรรค์กับเพื่อนฝูง ชาวอิตาลีจึงใช้ระยะเวลานานในการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาหารค่ำ ซึ่งยาวนานถึง 3-4 ชั่วโมงกันเลยทีเดียว ทั้งเมนูเรียกน้ำย่อย อาหารจานแรกอย่างข้าว หรือพาสต้า ต่อด้วยจานหลักจำพวกเนื้อสัตว์ ตามด้วยสลัด และจบของหวาน หรือกาแฟ(ชาวอิตาลีดื่มกาแฟเก่งมากๆ) ส่วนอาหารกลางวันระหว่างพักจากการทำงาน ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารจานเดียวแบบครบเพื่อความรวดเร็ว และช่วงสุดสัปดาห์เวลาสบายๆจะทำอาหารสังสรรค์กับเพื่อนๆและครอบครัวซึ่งอาจกินเวลายาวนานถึง 2-3 ชั่วโมงเช่นกัน ส่วนอาหารเช้านั้นนิยมรับประทาน แบบเบาๆ continental breakfast หรือเป็นกาแฟประเภทต่างๆ อย่าง คาปูชิโน่ มัคคีอาโต้ สเตร็ตโต้ ลุงโก้ ฯลฯ กับ brioche หรือขนมหวานอื่นๆ

อุตสาหกรรมอาหารของอิตาลีนับเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับอิตาลี โดยมียอดจำหน่าย(Turnover)ต่อปีประมาณ ๑๓๐ พันล้านยูโร มูลค่าการนำเข้า ๒๐ พันล้านยูโร มีความแข็งแกร่งด้านการส่งออกโดยมีมูลค่าการส่งออกเกินดุลทุกปีประมาณ ๒๓ พันล้านยูโร มีการบริโภคภายในประเทศประมาณ ๒๐๐ พันล้านยูโร ประกอบไปด้วยคนงานกว่า ๑๔๐,๐๐๐ คนในกว่า ๖ พันอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อันดับที่สองของประเทศ รองจากวิศวกรรมเครื่องกลโลหะ(Metalmeccanical Industry) และคิดเป็นอันดับสามในยุโรป รองจากอุตสาหกรรมอาหารของเยอรมันและฝรั่งเศส

อิตาลีเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของ Soft Power มาช้านาน อุตสาหกรรมอาหารของประเทศอิตาลีนั้นแข็งแกร่งมาก โดยที่เราเองก็เติบโตมากับสิ่งต่างๆ รอบตัวที่มีเกี่ยวข้องกับอิตาลีอย่าง น้ำมันมะกอก ที่มีการส่งออกน้ำมันมะกอกที่เติบโตขึ้นทุกปี สปาเก็ตตี้ พิซซ่า คาโบนาร่า และอื่นๆ ทั้งยังปลูกองุ่นเป็นพืชหลักในด้านการเพาะปลูก นิยมปลูกไว้เพื่อทำไวน์

อุตสาหกรรม

The Bvlgari's store in Rome. Photo: bulgari.com
Bvlgari’s store in Rome

อุสาหกรรมของอิตาลีเกิดขึ้นได้ช้า จนกระทั่งในปี 1883 ถือกำเนิด BULGARI และปี 1899 FIAT เริ่มต้นด้วยการผลิตรถเป็นของตนเอง เนื่องจากทางอเมริการและเยอรมันเริ่มมีเป็นของตนเองแล้ว จากนั้นอิตาลีจึงเริ่มมีความรู้ด้านอุตาหกรรมเพิ่มขึ้น ไม่นานเมื่อมีรถยนต์ก็เริ่มมีการผลิตยางรถยนต์อย่าง Pirelli และเริ่มต้นผลิตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้นอย่างรถไฟโดยบริษัทอย่าง Piaggio ที่เคยผลิตทั้งเรือดำน้ำ เครื่องบินรบ ซึ่งมาเปลี่ยนเป็น Vespa ในภายหลัง ณ เวลานั้นอุตสาหกรรมของอิตาลียังถือว่าตามหลังประเทศอื่นๆ อย่างเยอรมัน และอเมริกาอยู่มาก

ยังไม่พออิตาลีเป็นหนึ่งในผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่สุดของโลก จะมีการผลิตที่ก้าวหน้เป็นาบางส่วน เช่น เหล็กกล้า รถยนต์ พลังงานไฟฟ้า และเส้นใยสังเคราะห์ แต่ยังไม่ใช่ภาคส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และการผลิตอุตสาหกรรมก็มักจะอยู่ทางภาคเหนือของอิตาลี

โรงงาน Piaggio ในปี 1887
ยางรถยนต์ Pirelli

อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่มจี 8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ เช่น สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจ และแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลดบทบาทของพรรคการเมือง โดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายอย่าง เช่น การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (แคว้นลอมบาร์ดี เอมีเลีย-โรมัญญา และทัสกานี) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่ประมาณ 40% ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่นี้มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 ของประชากรทั้งประเทศ และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20

วัฒนธรรม

อิตาลีมีวัฒนธรรมที่คล้ายคนเอเชียโดยให้ความเคารพนับถือผู้สูงอายุ  การแสดงความเคารพและให้เกียรติผู้สูงอายุถือเป็นมารยาทที่ชาวอิตาเลียนชื่นชมมาก  การมอบดอกไม้ที่เป็นการแสดงความยินดีหรือขอบคุณเมื่อได้รับเชิญเป็นแขกควรให้เป็นช่อที่จำนวนเป็นเลขคู่ในการทักทายกับชาวอิตาเลียนที่ยังไม่คุ้นเคยควรให้คำ “Signore” นำหน้าชื่อสกุลผู้ชายและ “Signora” นำหน้าชื่อสกุลผู้หญิง เมื่อแนะนำตัวหรือเรียกขานผู้นั้นในที่ทำงานและการพบปะทางธุรกิจ เราจะต้องเรียกนามสกุล จนกว่าจะได้รับอนุญาตให้เรียกชื่อต้นได้และหากมีคำนำหน้าชื่อ จำเป็นต้องเอ่ยให้ถูกต้องทุกครั้ง  เมื่อได้พบปะรู้จักกับคนใหม่ๆ การทักทายด้วยการจับมือเป็นเรื่องปกติ  แต่บ่อยครั้งที่อาจนำมืออีกข้างมาจับที่แขนประกอบด้วย จึงไม่ต้องตกใจไป คนอิตาลีมักชื่นชมผู้ที่มีการศึกษา มีความสามารถ ประสบความสำเร็จในอาชีพ และให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม เพลง ไวน์ เสื้อผ้า อาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย และมีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดในโลก ทั้งรวมหมด 58 แห่ง เป็นแหล่งที่สะท้อนความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม

ศิลปะ ดนตรี วรรณกรรม ปรัชญา และแฟชั่น

ในยุคสหรัฐอเมริการุ่งเรืองในยุคนั้น หากจะมีใครสักคนที่สามารถส่งสินค้าไปขายให้กับอเมริกาได้ก็คงเป็น Gucci ตอนนั้นยังเป็นบริษัทผลิตเครื่องหนังที่ไม่ใหญ่มากนักคนอเมริกันกลุ่มแรกที่รู้จักก็คือเหล่าทหารอเมริกันที่มาแวะที่โรม และได้ซื้อกระเป๋าใส่สูทของ Gucci กลับไป จากนั้นไม่นานก็ได้ถูกชักชวนจากชาวอิตาเลี่ยนที่อาศัยอยู่ในอเมริกาให้มาเปิดร้านที่ฝั่งอเมริกา กระแสตอบรับเรียกได้ว่าท่วมท้นจนแทบขายไม่ทัน บวกกับเศรษฐกิจอเมริการในช่วงเวลานั้น ทำให้ Gucci มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่นิยมในเวลาอันรวดเร็ว JKF ได้ให้สมญานามว่า Gucci ถือเป็นเอกอัคราชฑูตของอิตาลีคนแรกที่ไปสู่อเมริกา ถือเป็นแบรนที่เปิดประตูสู่สินค้าของชาวอิตาเลี่ยนอีกมากมาย จากนั้นก็ตามมาด้วยแบรนสัญชาติดิตาลีอีกมากมาย ทั้ง Valentino, Prada, Fendi และอื่น ๆ

อีกหนึ่งแบรนที่ไม่พูดถึง เพราะถือเป็นประตูบานที่สองที่เปิดให้แบรนของชาวอิตาลีเป็นที่รู้จัก นั่นก็คือ Giogio Amarni เริ่มต้นจากการเป็นนักเรียนแพทย์ แต่ผันตัวมาเป็นนักออกแบบให้หลาย ๆ แบรน จนกระทั่งออกมาทำแบรนของตนเอง และจุดพลิกผันที่ทำให้ตัวแบรนโดดเด่นที่สุด เพราะนำเอาเสื้อผ้าให้กับนักแสดงนำในหนังเรื่อง American Gigolo (1980) ใส่ ซึ่งคนนั้นก็คือ ริชาร์ด เกียร์ และจากนั้น Giogio Amarni ก็กลายเป็นอีกหนึ่งแบรนที่ใคร ๆ ในยุคนั้นขอมีสักตัวไว้ติดตู้เสื้อผ้า

นอกจากนั้นไม่ว่าจะเป็น ศิลปะ ด้านดนตรี วรรณกรรม ปรัชญา และแฟชั่นที่สำคัญแล้ว อิตาลียังเป็นผู้มีอิทธิพลในด้านวงการบันเทิงของโลกอีกด้วย

อิตาลีเป็นประเทศเล็กๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมขนาดเล็ก(SME) มาโดยตลอด และมีคุณภาพชีวิตของประชากรที่สูงมาก ทั้งระบบการศึกษาชั้นเยี่ยม และสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย ถึงจะเหมือนคนไทยแค่ไหน แต่ก็มีความแตกต่างที่คนอิตาลีขับเคลื่อนชีวิตของเขาด้วย Passion ซึ่งเป็นผลดีที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของอิตาลีดีขึ้น

อ้างอิง กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว / ถอดบทเรียนการสร้างชาติอิตาลี

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23