ไฮไลท์
- ปริมาณอุปทานของตลาดโกดังในนประเทศไทยอยู่ที่ 4,708,447 ตารางเมตร โดยเพิ่มขึ้นจากต้นปี 94,408 ตารางเมตร
- ย่านสุวรรณภูมิและบางปะกงมีอัตราการเช่าสูงสุดที่ 87.73 เปอร์เซนต์
- ราคาค่าเช่าเฉลี่ยทรงตัวที่ 150.03 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน
- จับตามองย่าน EEC ที่รัฐบาลกำลังเร่งพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานในละแวกนี้
ใน 18 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะมีอุปทานเข้ามาในตลาดใหม่ประมาณ 100,000-150,000 ตารางเมตร โดยอุปทานใหม่นี้จะอยู่ในโซน EEC เช่น ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา โดยโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐในโซน EEC จะเป็นตัวแปรที่สำคัญในตลาดคลังสินค้าในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม เราคาดการณ์ว่าเราคาค่าเช่ายังคงไม่เติบโตอยู่ที่ระดับเดิมไปอีกระยะหนึ่ง ที่ประมาณ 150 บาทถึง 155 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เนื่องจากจำนวนอุปทานส่วนเกินที่มีมากเกินไปตั้งแต่ปี 2014
ภาพรวม
ในปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.3 โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกและนำเข้าโตสูงสุดในรอบ 7 ปี ที่ดัชนี 107.8 และ 106.5 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวของภาคเกษตรกรรมในประเทศ โดยเมื่อเทียบจากสถิติ จะเห็นได้ว่ามูลค่าการส่งออกของประเทศไทยมีมูลค่ากว่าการนำเข้า เกินดุลมาตั้งแต่ปี 2014
กราฟที่ 1
ปริมาณการส่งออกและนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 – ไตรมาสที่ 4 ปี 2560
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกส่งมายังท่าเรือแหลมฉบังเติบโตสูงถึง 7.25 เปอร์เซ็นต์ที่จำนวน 3,982,438 ตู้ ซึ่งตัวเลขนี้ทำสถิติเป็นจำนวนสูงที่สุดตั้งแต่ทำการเก็บข้อมูลมา
กราฟที่ 2
ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่ผ่านจากท่าเรือแหลมฉบังในปี 2017
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
กราฟที่ 3
อุปทานตลาดโกดังในครึ่งปีหลัง 2560
ที่มา : ฝ่ายวิจัยไนท์แฟรงค์ประเทศไทย
ในครึ่งปีหลังของปี 2017 จำนวนอุปทานใหม่ของตลาดคลังสินค้าในประเทศไทยยังคงเติบโตในจำนวนที่ไม่สูงมากนักที่จำนวน 94,408 ตารางเมตร หรือประมาณร้อยละ 2 ทำให้จำนวนอุปทานของทั้งหมดมีจำนวน 4,708,447 ตารางเมตร
กราฟที่ 4
การกระจายตัวของพื้นที่คลังสินค้า โดยจำแนกตามจังหวัดในครึ่งปีหลัง 2560
ที่มา : ฝ่ายวิจัยไนท์แฟรงค์ประเทศไทย
การกระจายตัวของอุปทาน
จังหวัดสมุทรปราการยังคงเป็นทำเลหลักของจำนวนอุปทานทั้งหมดของตลาดคลังสินค้าในประเทศไทย ที่จำนวนสูงถึง 1,528,960 ตารางเมตร หรือประมาณ 32.47 เปอร์เซ็นต์ เหตุผลที่สมุทรปราการยังคงเป็นศูนย์กลางของตลาดคลังสินค้าก็เพราะสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ และยังมีความสะดวกในการกระจายสินค้าไปยังนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ โดยใช้เวลาไม่นาน
ขณะที่ประมาณ 21.70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนอุปทานของคลังสินค้าตั้งอยู่ที่จังหวัด ชลบุรี ตามมาด้วยจังหวัดอยุธยาที่มีจำนวนอุปทานทั้งหมด 12.40 เปอร์เซ็นต์
อุปสงค์
ณ สิ้นปี 2017 ความต้องการของตลาดคลังสินค้าในประเทศขยายตัว 74,783 ตารางเมตรจากมื่อต้นปี ทำให้จำนวนพื้นที่คลังสินค้าที่ถูกเช่าทั้งหมดในช่วงเวลานี้มีจำนวน 3,952,699 ตารางเมตร
ย่านสุวรรณภูมิ-บางปะกง ยังคงเป็นทำเลที่มีอัตราการเช่าสูงที่สุดที่ร้อยละ 87.73 คิดเป็นการเติบโต 0.17 เปอร์เซ็นต์จากเมื่อต้นปี และโต 1.14 เปอร์เซ็นต์จากเมื่อปลายปีที่แล้ว ย่านปทุมธานี-อยุธยา มีอัตราการเช่าอยู่ที่ร้อยละ 87.01 ขณะที่ย่านระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก มีอัตราการเช่าต่ำที่สุดที่ร้อยละ 69.69
โดยจากค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2011 ปกติแล้วอัตราการขยายตัวของพื่นที่เช่าในตลาดคลังสินค้าจะมีจำนวนอยู่ที่ 170,303 ตารางเมตร อย่างไรก็ตามในครึ่งปีหลังนี้ เรากลับเห็นการขยายตัวพื้นที่เช่าเพียง 74,783 ตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งตัวเลขนี้แสดงให้เห็นถึงอัตราการเช่าที่ร้อยละ 83.95 ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการคลังสินค้า
กราฟที่ 5
อัตราการครอบครองพื้นที่และอัตราการเช่าพื้นที่ ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 – ไตรมาสที่ 2 2560
ที่มา : ฝ่ายวิจัยไนท์แฟรงค์ประเทศไทย
กราฟที่ 6
อัตราการครอบครองพื้นที่และอัตราการเช่าพื้นที่ ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 – ไตรมาสที่ 2 2560
ที่มา : ฝ่ายวิจัยไนท์แฟรงค์ประเทศไทย
อัตราค่าเช่า
ราคาค่าเช่าของคลังสินค้าทั้งหมดในประเทศไทยในปัจจุบัน มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 150.03 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน โดยพื้นที่ที่มีราคาค่าเช่าเฉลี่ยสูงสุดคือ แถบสุวรรณภูมิ-บางประกง ที่ราคา 156.41 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ขณะพื้นที่ที่มีราคาค่าเช่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ แถบจังหวัดปทุมธานี-อยุธยา ที่ราคา 146.29 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน
กราฟที่ 7
อัตราค่าเช่า โดยจำแนกที่ตั้งโลจิสติกส์ที่สำคัญ ในช่วงครึ่งปีแรก 2557 – ช่วงครึ่งปีหลัง 2560
ที่มา : ฝ่ายวิจัยไนท์แฟรงค์ประเทศไทย
กราฟที่ 8
ราคาเสนอเช่า โดยจำแนกที่ตั้งโลจิสติกส์ที่สำคัญ ช่วงครึ่งปีหลัง 2560