โฉมใหม่ทางด่วนเกษตร-นวมินทร์-วงแหวนตะวันออก สูงเท่าตึก 3 ชั้นไม่มีเวนคืน

1211

พล.อ.วิวรรธน์ สุชาติ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า กทพ.อยู่ระหว่างทบทวนศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและงานทบทวนและออกแบบรายละเอียดโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก (E-W) ระยะทาง 10.5 กม. โครงสร้างสูงเท่ากับตึก 3 ชั้น โดยปรับรูปแบบใหม่ ลดขนาดเหลือ 4 เลน พร้อมสะพานข้ามแยก 5 แห่ง แก้รถติด ย้ำไม่มีเวนคืนที่ดิน เก็บค่าผ่านทาง 20 บาทตลอดสาย เปิดประมูลปลายปี 61

เนื่องจากสภาพการจราจรบนถนนประเสริฐมนูกิจมีความหนาแน่นมาก จึงได้มีการเสนอความเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการจราจรต่อหัวหน้าคณะรักษาควาสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ โดยบรรจุโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือไว้ในแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม ระยะเร่งด่วน 2560 และให้ กทพ.ดำเนินโครงการเฉพาะตอน N2 และ E-W ด้านตะวันออก เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบนถนนประเสริฐมนูกิจ

นายประสงค์ มงคลเนาวรัตน์ รองผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า โครงการจะสร้างอยู่บนฐานตอม่อเดิมที่ กทพ.สร้างไว้แล้วบนเกาะกลางถนนเกษตร-นวมินทร์ (ถนนประเสริฐมนูกิจ) มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณตอม่อที่ 10 ห่างจากปากอุโมงค์แยกเกษตร 350 เมตร ข้ามคลองบางบัว ผ่านแยกลาดปลาเค้า แยกเสนานิคม แยกสุคนธสวัสด์ แล้วเชื่อมกับทางด่วนฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จากนั้นมุ่งหน้าไปผ่านแยกรัชดา-รามอินทรา แยกนวลจันทร์ แยกถนนนวมินทร์ แล้วเบี่ยงซ้ายไปตามเกาะกลางถนนเกษตร-นวมินทร์ ไปเชื่อมกับวงแหวนรอบนอกตะวันออกออกแบบเป็นทางยกระดับสูงจากระดับพื้นดิน 18 เมตร หรือระดับชั้นที่ 3

โดยชั้นที่ 1 เป็นถนนเกษตร-นวมินทร์ ระดับที่ 2 เป็นสะพานข้ามแยกและระดับ 3 เป็นโครงสร้างทางด่วน จะมีทางขึ้น-ลง 2 แห่ง คือ จุดเริ่มต้นโครงการ ห่างจากถนนพหลโยธิน 900 เมตร บริเวณตอม่อที่ 19 ระยะทาง 800 เมตร และจุดสิ้นสุดโครงการอยู่ห่างจากถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออกประมาณ 1 กม. ระยะทาง 1.2 กม. มีทางต่างระดับ 2 แห่ง ตรงบริเวณจุดตัดทางด่วนฉลองรัช กับลาดบัวขาว จุดต่อเชื่อมเข้ากับวงแหวนรอบนอกตะวันออก และยังมีโครงการสะพานข้ามทางแยกบนถนนเกษตร-นวมินทร์ของกรมทางหลวง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ แยกวังหิน แยกเสนานิคม แยกสุคนธสวัสดิ์ แยกนวลจันทร์ และแยกนวมินทร์ เป็นการบูรณาการแก้ไขปัญหาการจราจรร่วมกันระหว่างระบบทางหลวงและระบบทางด่วน เป็นทางเลือกให้ประชาชน

 

Advertisement

แหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ วันที่ : 2 ตุลาคม 2560

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23