โครงการทางพิเศษ(ทางด่วน)สายอุดรรัถยา-พระนครศรีอยุธยา

4145

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)ได้เตรียมนำเสนอโครงการทางพิเศษ(ทางด่วน)สายอุดรรัถยา-พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบการคมนาคมขนส่งของประเทศไทยให้เชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่โซนเหนือของกรุงเทพมหานครกับพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้ากับจังหวัดในภาคเหนือ

โครงการทางด่วนสายอุดรรัถยา-พระนครศรีอยุธยา กำหนดให้มีทางยกระดับเชื่อมต่อกับทางพิเศษอุดรรัถยาที่ให้บริการในปัจจุบันเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรของโครงข่ายถนนทางหลวงในปัจจุบัน วางแผนการต่อขยายโครงข่ายทางพิเศษอุดรรัถยา ไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 บริเวณ อำเภอบางปะหัน โดยต่อเชื่อมจากทางพิเศษอุดรรัถยาที่บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางปะอิน ผ่าน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และไปสิ้นสุดที่อำเภอบางปะหัน บริเวณจุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 พร้อมทั้งวางแผนให้มีทางเชื่อมต่อไปยังศูนย์ศิลปาชีพบางไทรได้โดยตรง รวมระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร

ทางด่วนเส้นทางนี้มีจุดเริ่มต้นต่อเชื่อมกับทางพิเศษอุดรรัถยา ที่บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางปะอิน อำเภอบางปะอิน หลังจากนั้นแนวสายทางโครงการจะขึ้นไปทางทิศเหนือและข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลเกาะเกิด แนวสายทางโครงการจะอยู่ทางด้านทิศตะวันตกและขนานกับทางหลวงหมายเลข 347 ผ่านเข้าพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเชื่อมต่อการเดินทางกับพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจะเชื่อมกับทางหลวงสายสำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 3442 ทางหลวงหมายเลข347 ทางหลวงหมายเลข 356 ทางหลวงหมายเลข 3263 ทางหลวงหมายเลข 309 ทางหลวงหมายเลข 329 และสิ้นสุดสายทางเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร

โดยได้ออกแบบให้มีทางขึ้น-ลงจำนวน 8 ตำแหน่ง ได้แก่ 1. ทางขึ้น-ลงบางปะอิน (จุดเริ่มต้นโครงการ) 2. ทางขึ้น-ลงถนนกาญจนาภิเษก 3. ทางขึ้น-ลงศูนย์ศิลปาชีพบางไทร 4. ทางขึ้น-ลงเกาะเกิด 5. ทางขึ้น-ลงบ้านกลึง 6. ทางขึ้น-ลงวรเชษฐ์ 7. ทางขึ้น-ลงพุทเลา และ 8. ทางขึ้น-ลงบางปะหัน (จุดสิ้นสุดโครงการ)

ทั้งนี้ตามผลการศึกษามีมูลค่าลงทุนกว่า 3.1 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2,767 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง(รวมค่าออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง) 2.8 หมื่นล้านบาท เพื่อให้โครงการมีผลตอบแทนทางด้านการเงินที่เหมาะสม กทพ.จึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าก่อสร้างบางส่วนจากรัฐบาล

Advertisement

แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ   วันที่ : 15-17 ธันวาคม 2559

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23