สกพอ.เร่งเจรจาเอกชน ลงทุนสมาร์ทซิตี้“อีอีซี”

1881

การผลักดันเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะส่งเสริมการพัฒนา “เมืองใหม่อัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ท ซิตี้” รองรับการสร้างวิถีชีวิตแบบใหม่ให้ผู้มาทำงานในอีอีซี

การผลักดันเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะส่งเสริมการพัฒนา “เมืองใหม่อัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ท ซิตี้” รองรับการสร้างวิถีชีวิตแบบใหม่ให้ผู้มาทำงานในอีอีซีช่วง 15-20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีคนย้ายมาในอีอีซีเพิ่ม 1 ล้านคน โดยจะเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อผลักดันเรื่องนี้

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า ที่ผ่านมา กพอ.มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะในเขตอีอีซีเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนเมืองในอีอีซี 

ทั้งนี้ เบื้องต้น สกพอ.ได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) วางโครงสร้างพื้นฐานระบบ 5จี เพื่อพัฒาสมาร์ทซิตี้ใน 3 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ 1.พื้นที่สนามบินอู่ตะเภา 2.อำเภอบ้านฉาง และ 3.นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

160749721079

นอกจากนี้ มีทั้งที่ดินภาคเอกชนและภาครัฐที่จะพัฒนาสมาร์ทซิตี้ โดยพื้นที่รัฐจะเป็นโครงการสมาร์ทซิตี้ขนาดใหญ่กว่า 1 หมื่นไร่ ร่วมลงทุนกับเอกชน ภายในพื้นที่จะมีศูนย์กลางสมาร์ทซิตี้ 5–6 แห่ง แห่งละ 1,000–2,000 ไร่ เช่น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ศูนย์กลางฟินเทค ศูนย์กลางบริการสุขภาพ ศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเงินลงทุนโครงการหลักจะอญุ่ที่แสนล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเอกชนเจรจากับ สกพอ.

Advertisement

ส่วนสมาร์ทซิตี้ในพื้นที่เอกชนมีผู้ประกอบการเข้ามาหารือ 3-4 พื้นที่ กระจายอยู่ใน 3 จังหวัด มีพื้นที่ละกว่า 2,000 ไร่ ประกกอบด้วย 1.สมาร์ทซิตี้ที่เป็นที่พักอาศัยที่มีความสะดวกสบายและความปลอดภัยสูง 2.สมาร์ทซิตี้ด้านธุรกิจการค้าและฟินเทค เพื่อรองรับการดำเนินงานของธุรกิจสตาร์ทอัพที่ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานชั้นสูงและระบบ 5จี 3.สมาร์ทซิตี้ด้านธุรกิจดูแลสุขภาพครบวงจร

ทั้งนี้ ภาครัฐจะนำแนวคิดสมาร์ทซิตี้ต่างประเทศมาใช้ เช่น ซิลิคอนวัลลีย์ เพื่อให้สมาร์ทซิตี้ไทยได้มาตรฐานระดับโลก คาดว่าจะเงินลงทุนแห่งละหลักพันล้านถึงหมื่นล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการปรับปรุงเมืองเดิมเป็นสมาร์ทซิตี้หรือต้องเข้าไปสร้างเป็นเมืองใหม่

“รัฐบาลคาดว่าหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ต่างชาติเดินทางเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยได้ โครงการสมาร์ทซิตี้จะเดินหน้าได้เร็ว โดยปี 2564 จะเกิดสมาร์ทซิตี้ในอีอีซีไม่ต่ำกว่า 2 โครงการ ปี 2565 จะมีสมาร์ทซิตี้ขนาดใหญ่ที่เป็นการลงทุนของรัฐและเอกชน และหลังจากมีสมาร์ทซิตี้นำร่องเกิดขึ้น จะมีอีกหลายโครงการลงทุนตามมาอีกมาก คาดว่าจะเกิดเม็ดเงินลงทุนสมาร์ทซิตี้ในอีอีซี กว่า 1 ล้านล้านบาท” แหล่งข่าว กล่าว

รวมทั้งจะมีการเสนอ กพอ.ประกาศพื้นที่พัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้ให้เป็นเขตส่งเสริมพิเศษด้านสมาร์ทซิตี้และระบบ 5จี และจะเสนอให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม เพราะสมาร์ทซิตี้ต้องมีสิทธิประโยชน์ต่างจากเขตอุตสาหกรรม เช่น สิทธิพิเศษสำหรับผู้เชี่ยชาญต่างชาติที่มาทำงานในอีอีซี ซึ่งควรมีระบบวีซ่าและการออกใบอนุญาตการทำงานที่สะดวกรวดเร็ว และมีเวลาพำนักอาศัยในไทยนานขึ้น

รวมทั้งมาตรการด้านภาษีอื่น เช่น ระยะเวลาการยกเว้นภาษีนิติบุคคลเพราะสมาร์ทซิตี้ใช้เงินลงทุนสูง รวมทั้งมาตรการส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในอีอีซี

ที่มา : www.bangkokbiznews.com

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23