ระเบียงเศรษฐกิจ’ แห่งใหม่ เชื่อมอีอีซี-กัมพูชา-เวียดนาม

2036

“ฮ่องกง” นับเป็นพื้นที่ที่มีราคาอสังหาริมทรัพย์สูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจต้องหยุดชะงักลง และผู้คนจำนวนมากขาดรายได้ที่เพียงพอต่อการจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัยราคาแพง ทำให้จำเป็นต้องย้ายไปยังที่พักอาศัยที่มีราคาถูกลง โดยเฉพาะพนักงานในอุตสาหกรรมการบินที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยลบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ฮ่องกง

บลูมเบิร์กรายงานว่า การประกาศปรับลดพนักงานของสายการบิน “คาเธ่ย์แปซิฟิค” รวม 8,500 ตำแหน่ง รวมทั้งยุติกิจการสายการบิน “คาเธ่ย์ดราก้อน” ในสัปดาห์ที่ผ่านมา กำลังส่งผลกระทบไปยังตลาดอสังหาริมทรัพย์ของฮ่องกง เนื่องจากพนักงานสายการบินจำนวนมากขาดรายได้ และต้องย้ายออกจากที่พักอาศัยเดิมที่มีราคาสูง และบางส่วนอาจต้องย้ายออกจากฮ่องกงไปยังพื้นที่อื่นที่ราคาที่พักอาศัยถูกกว่า

ในโอกาสการประชุมสัมมนานานาชาติ CVTEC (Cambodia-Vietnam-Thailand Economic Corridor Conference) เพื่อจัดทำแผนความร่วมมือเชื่อมโยงการค้า การลงทุน โลจิสติกส์ การท่องเที่ยวและไมซ์ ระเบียงเศรษฐกิจชายฝั่งด้านใต้ ครอบคลุมพื้นที่EEC -กัมพูชา-เวียดนาม

ในโอกาสการประชุมสัมมนานานาชาติ CVTEC (Cambodia-Vietnam-Thailand Economic Corridor Conference) เพื่อจัดทำแผนความร่วมมือเชื่อมโยงการค้า การลงทุน โลจิสติกส์ การท่องเที่ยวและไมซ์ ระเบียงเศรษฐกิจชายฝั่งด้านใต้ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ของไทย จังหวัดเกาะกง-สีหนุวิลล์-กัมปอต-แกป ของกัมพูชา และจังหวัดเกียนยาง-กาเมา ของเวียดนาม

กลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และภาคีพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจชายฝั่งด้านใต้ให้มีการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ มีความต่อเนื่อง และอำนวยประโยชน์แก่เศรษฐกิจของทั้งสามประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และไทยได้อย่างแท้จริง  ซึ่งจะช่วยกระจายโอกาสในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Advertisement

รวมถึง เป็นช่องทางการสร้างงานและการพัฒนาภูมิภาคที่สามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจสำคัญอย่างโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จ.ตราด (เอสอีแซท) พร้อมทั้งยังพัฒนาให้เชื่อมโยงกับ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน โดยเฉพาะเส้นทางสายไหมทางทะเล และยังส่งผลถึงกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดน อันจะนำไปสู่การขยายผลความร่วมมือในด้านต่าง ๆ

“โครงการ CVTEC ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ของแต่ละจังหวัด และเพิ่มพูนศักยภาพด้านเศรษฐกิจของทั้งสามประเทศ ซึ่งจะเป็นความร่วมมือในการเชื่อมโยงศักยภาพของภาคตะวันออกของไทย โดยเฉพาะอีอีซี กับภูมิภาคทางตอนใต้ของกัมพูชา และเวียดนาม ให้เกิดการเกื้อหนุนพัฒนาร่วมกัน”

160406287956

นอกจากนี้ ยังสามารถยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ด้วยการเปลี่ยนธุรกิจภาคบริการแบบดั้งเดิมเป็น High Value Services ยกระดับธุรกิจบริการที่มีศักยภาพมาสู่ธุรกิจที่มีมูลค่าสูงขึ้นด้วย creative economy และนำร่องด้านการท่องเที่ยวที่อยู่ระหว่างการผลักดัน คือ การเปิดเส้นทางเดินเรือเพื่อการท่องเที่ยวชายฝั่งระหว่างสามประเทศ

สำหรับโครงการ CVTEC เกิดจากการริเริ่มของภาคเอกชนของทั้ง 3 ประเทศและเชื่อมโยงให้ภาครัฐมาช่วยสนับสนุน จึงทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง และมั่นใจว่าจะทำให้การค้าชายแดนไปกัมพูชาเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากปัจจุบันที่มีมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อปี รวมทั้งยังจะเพิ่มการค้าและการท่องเที่ยวผ่านแดนไปยังประเทศเวียดนามได้อีกด้วย โดยภาคเอกชนทั้ง 3 ประเทศ จะตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนโครงการนี้ร่วมกัน

นิคม ไวยรัชพานิช รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่าในพื้นที่ อีอีซี และภาคตะวันออกของไทย เป็นพื้นที่ที่มีจีดีพีสูงที่สุดของไทย ในขณะที่ จ.สีหนุวิลล์ ก็เป็นเมืองท่า และเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของกัมพูชา มีอัตราการเติบโตสูงมาก มีนักลงทุนจากจีนเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก และในพื้นที่ภาคใต้ของเวียดนามเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง มีความอุดมสมบูรณ์สูง และยังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของเวียดนาม ดังนั้น หากเชื่อมโยง 3 พื้นที่เข้าด้วยกัน ก็จะสามารถขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ได้อีกมหาศาล

ทั้งนี้ โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ CVTEC ก็มีความพร้อมสูง โดยเฉพาะใน อีอีซี จะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อีกมาก ขณะนี้ขาดแต่เพียงการแก้ไขกฎระเบียบ และการอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ เช่น ด้านศุลกากร การผ่านแดนทั้งทางบก และทางทะเล หากลดอุปสรรคต่าง ๆ ได้ ก็จะทำให้เกิดการขยายตัวด้านการขนส่งทางทะเลชายฝั่งจากไทยไปจนถึงเวียดนาม

“ในพื้นที่นี้มีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์มาก หากกระทรวงคมนาคม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย เข้ามาร่วมมืออย่างเต็มที่ จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อีกมาก และจะเป็นระเบียงเศรษฐกิจที่เติบโตและผลักดันได้รวดเร็วกว่าระเบียงเศรษฐกิจในด้านอื่น ๆ”

คเณศ วังส์ไพจิตร ผู้ช่วยเลขาธิการด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่าโครงการ CVTEC จะนำทรัพยากรจากกัมพูชาและเวียดนามเข้ามาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม และยังเป็นการขยายตลาดประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น

สำหรับ ธุรกิจที่โอกาสสูงในพื้นที่ อีอีซี ในการรองรับโครงการ CVTEC ก็คือธุรกิจการให้บริการทางการแพทย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และผู้มีรายได้สูงจากกัมพูชาและเวียดนาม ธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ และและธุรกิจการจัดประชุมสัมมนา และจัดนิทรรศการ การแสดงสินค้านานาชาติ (ไมซ์) ซึ่ง อีอีซี จะนำยุทธศาสตร์ CVTEC เข้ามาต่อยอดกับแผนของ อีอีซี เพื่อกระจายผลประโยชน์ให้กับพื้นที่ อีอีซี ต่อไป

ชนินทร์ ขาวจันทร์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นที่ตั้งของอีอีซี และเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จ.ตราด อยู่แล้ว การเกิดโครงการ CVTEC ก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพการลงทุนใน 2 พื้นที่นี้มากขึ้น และเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้ง 3 ประเทศ สามารถเชื่อมโยงฐานการผลิตในภาคตะวันออกไปยังตลาดกัมพูชา และเวียดนาม ได้เพิ่มขึ้น

ที่มา : www.bangkokbiznews.com

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23