ภูเก็ตรุกคืบรถไฟฟ้ารางเบา เดินหน้าทำ EIA – สำรวจสภาพพื้นที่ก่อสร้าง

1789

เร่งสำรวจพื้นที่ รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต งบลงทุน 2.4 หมื่นล้าน จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม EIA คาดใช้งานปี 64

ผู้สื่อข่าวภูเก็ตรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่บริเวณท่าอากาศยานภูเก็ต คณะทำงานโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ( LRT รถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต) ลงสำรวจสภาพพื้นที่ ในโครงการรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางจังหวัดภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต ของการไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยมีนายศิริเกษ อธิรัตน์ เลขานุการคณะกรรมการกำกับการศึกษาโครงการขนส่งมวลชน สำนักงานนโยบายและแผนงานขนส่งและจราจร (สนข.) พร้อมคณะเข้าร่วมสำรวจ

นางสาววริศรา ไชยวงศ์ ผู้อำนวยการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านคมนาคมสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า สำหรับการเดินทางลงมายังพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ เพื่อสำรวจสภาพพื้นที่การก่อสร้าง โครงการระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยจะมีการดำเนินการก่อ สร้างแบ่งเป็น 2 ระยะคือระยะแรกดำเนินการก่อสร้างจากสถานีรถไฟท่าอากาศยานภูเก็ตไปจนถึงสถานีรถไฟฉลองและระยะที่ 2 จากบริเวณสามแยกท่าอากาศยานภูเก็ตไปจนถึงบริเวณสถานีรถไฟท่านุ่น

“ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ตนั้น เป็นโครงการที่เข้าข่ายประเภทและขนาดที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผล กระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจะต้องมีการสำรวจพื้นที่และส่งผลสรุปไปยังสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการที่ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งขณะนี้จะต้องตรวจสอบเบื้องต้นและลงพื้นที่จริงประกอบกัน นำเสนอความคิดเห็นเบื้องต้นนำสู่คณะกรรมการผู้ชำนาญการ ทำการพิจารณาและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป”

รถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tram) มีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่สถานีรถไฟท่านุ่น สิ้นสุดโครงการที่ทางเหนือของห้าแยกฉลอง(บนถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลอง ประมาณ 200 เมตร) รวมระยะทาง 60 กิโลเมตร ซึ่งรูปแบบทางวิ่งจะวิ่งระดับพื้นดินตลอดเส้นทาง ยกเว้นหน้าสนามบิน จะเป็นทางยกระดับ มีจำนวน 23 สถานี มูลค่าการก่อสร้างเบื้องต้น ประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท โดยจะเริ่มก่อสร้างในปี 2561 และคาดว่าจะสร้างเสร็จในปลายปี 2563 เปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2564

Advertisement

นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครราชสีมา กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เทศบาล ได้ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหาร บริษัท จงหยวนฉวง นิว อีเนอร์จี จำกัด บริษัท จงถาง สกาย เรลเวย์ กรุ๊พ จำกัด และบริษัท บริหารสินทรัพย์ เหอจุน เหนียนหลุน (เซียะเหมิน) จำกัด ซึ่งเป็น กลุ่มพัฒนานวัตกรรมระบบขนส่งมวลชน โดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้การสนับสนุน นำเสนอการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ระบบใหม่ที่ได้เปิดใช้งานจริงในมณฑลเฉิงตู ประเทศจีน จึงเป็นโอกาสที่ดี ซึ่งเทศบาลนครราชสีมา ได้นำเสนอรายละเอียดต่างๆ ให้นำกลับไปคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ เพื่อให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับเมกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาล ที่ใช้โคราช เป็นศูนย์กลางคมนาคมอย่างเต็มรูปแบบ

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23