เจาะลึก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565

4847

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ พ.ร.ฎ.กำหนดอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปีภาษี 2565

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ทางเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2565 ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 37 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

ก่อนที่เราจะอัพเดตข้อมูลตัวเลขที่เปลี่ยนแปลงในการจัดเก็บภาษี ไนท์แฟรงค์ขอทบทวนความหมายของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้ง 4 ประเภทว่าในแต่ละประเภทหมายถึงอะไรบ้าง

การเก็บภาษีที่ดินปี 2565

วีธีการคิดและคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565

Advertisement

ประเภทที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คือที่ดินที่ใช้สำหรับการ ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นๆตามที่ประกาศได้กำหนดไว้ โดยมีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.10% และต่ำสุดอยู่ที่ 0.01%

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.01%
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตรา 0.03%
  • ที่ดินมูลค่า 100 – 500 ล้านบาท อัตรา 0.05%
  • ที่ดินมูลค่า 500 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.07%
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป อัตรา 0.10%

ประเภทที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย

ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย คือที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ให้บุคคลใช้เพื่อการอยู่อาศัย โดยมีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.10% และต่ำสุดอยู่ที่ 0.02% โดยในภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทนี้ถูกแบ่งออกมาเป็น 3 กรณี ดังนี้

1.บ้านหลังหลัก (บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 50 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.03%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 75 – 100 ล้านบาท อัตรา 0.05%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.10%

2. บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น (บ้านหลังหลัก)

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 10 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.02%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 50 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.03%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 75 – 100 ล้านบาท อัตรา 0.05%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.10%

3. กรณีอื่น เช่น บ้านหลังที่ 2 หรือบ้านที่ไม่มีชื่อเราอยู่ในทะเบียนบ้าน (บ้านหลังรอง)

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.02%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 50 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.03%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 75 – 100 ล้านบาท อัตรา 0.05%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.10%

ประเภทที่ดินที่ใช้ประโยชน์อื่น นอกจากเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย (กลุ่มพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม)

ภาษีในประเภทนี้หมายถึง ที่ดินอื่นๆที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่น ที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์ อย่างโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร โรงงาน และอื่นๆ เป็นต้น โดยมีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.70% และต่ำสุดอยู่ที่ 0.30%

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.03%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 50 – 200 ล้านบาท อัตรา 0.40%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 200 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.50%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตรา 0.60%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.70%

ประเภทที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ ไม่ได้ใช้ทำเกษตรกรรม ไม่ได้ทำเป็นพักอาศัย หรือใช้ประกอบกิจการใดๆตลอดปีที่ผ่านมา โดยมีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.70% และต่ำสุดอยู่ที่ 0.30%

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.03%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 50 – 200 ล้านบาท อัตรา 0.40%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 200 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.50%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตรา 0.60%
  • ที่ดินมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.70%

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23