ถกประเด็น: ค่าโดยสารรถไฟฟ้าราคาแพง ปัญหาที่รอการแก้ไข

3415
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าราคาแพง
Bangkok, Thailand - January 18, 2016 : crowd of people at BTS Siam station some people waiting for the train and some people using the escalator that has advertising along the way in the rush hour evening. Daily passengers of BTS skytrain is around 700,000

แม้ว่ารถไฟฟ้าจะมีจุดเด่นที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้สะดวกรวดเร็ว แต่สิ่งที่แลกมากับความสะดวกนั้นก็คือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากการเดินทางรูปแบบอื่น 

แม้ว่ารถไฟฟ้าจะมีจุดเด่นที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้สะดวกรวดเร็ว แต่สิ่งที่แลกมากับความสะดวกนั้นก็คือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากการเดินทางรูปแบบอื่น 

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าไทย เฉลี่ย 28.30 บาท/คน/เที่ยว

สำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมใกล้รถไฟฟ้า เหตุผลหลักคือเรื่องของการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา จากการโดยสารรถไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน แต่ดูเหมือนว่าการประหยัดเวลานั้น ต้องแลกมากับการจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่แพงเกินไป

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทย ได้กลายได้เป็นกระแสถูกพูดถึงและถึงพูดถึงมากขึ้น หลังจากเว็บไซต์เดอะสตาร์ของมาเลเซีย เผยรายงานอ้างอิงจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ซึ่งระบุว่า ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของประเทศไทย มีค่าโดยสารที่แพงเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้มีรายได้น้อย

ผลศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายระบบขนส่งสาธารณะรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล ของ TDRI พบว่า ค่ารถไฟฟ้าในเมืองเมื่อวัดตามอำนาจดัชนีการซื้อ มีราคาค่อนข้างสูง หรือเฉลี่ย 28.30 บาท/คน/เที่ยว สูงกว่าของสิงคโปร์กว่า 50% ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 13.3 บาท/คน/เที่ยว ส่วนฮ่องกงอยู่ที่ 16.78 บาท/คน/เที่ยว

Advertisement

นอกจากนี้ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าระบบรางของไทยยังสูงกว่าประเทศในภูมิภาคเอเชีย และมีค่าส่วนต่างค่าโดยสารระหว่างรถไฟฟ้ากับรถเมล์สูงที่สุด โดยไทยอยู่ที่ 67.4 บาท หรือ 2.14 ดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์อยู่ที่ 25.73 บาท หรือ 0.83 ดอลลาร์สหรัฐ และฮ่องกงอยู่ที่ 46.5 บาท หรือ 1.5 ดอลลาร์สหรัฐ

วิเคราะห์ 2 สาเหตุสำคัญ ดันค่าโดยสารรถไฟฟ้าไทยพุ่ง

หากพิจารณาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน จะมีอัตราอยู่ระหว่าง 16-42 บาท ยังไม่รวมส่วนต่อขยายที่ต้องจ่ายเพิ่มอีก 15-21 บาท ยกตัวอย่างรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากจังหวัดสมุทรปราการ ยาวมาถึงสถานีหมอชิตจะอยู่ที่ 59 บาท/เที่ยว

เมื่อรวมทั้งขาไปและขากลับ จะต้องเสียค่าโดยสารรถไฟฟ้าวันละ 118 บาท รวมต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท ยังไม่รวมค่ารถเมล์ ค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในกรณีที่ต้องนั่งต่อมาเพื่อขึ้นรถไฟฟ้า หมายความว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางต่อเดือนจะสูงกว่า 3,000 บาท

Bangkok, Thailand - February 28, 2017: Crowd of passengers on BT

โดยค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยที่มีราคาแพงนี้ จากการวิเคราะห์พบว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยสำคัญ

1. รูปแบบการลงทุนส่วนใหญ่ให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ซึ่งการลงทุนระบบขนส่งสาธารณะจะมีต้นทุนสูงและใช้เวลาคืนทุนนาน เช่น รถไฟฟ้าสายแรกสายสีเขียว ช่วงอ่อนนุช-หมอชิต และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งมีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด

ในช่วงแรกของการเปิดให้บริการเกิดขาดทุน จนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและเพิ่งมีกำไรในช่วงหลังปี 2552 ดังนั้น การกำหนดค่าโดยสารจึงตั้งตามต้นทุนที่เอกชนต้องแบก และเมื่อต้องนั่งรถไฟฟ้าหลายระบบ ต้องเสียค่าแรกเข้าและค่าโดยสารตามระยะทางของรถไฟฟ้าระบบนั้น ๆ อีกต่อหนึ่ง จึงทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพง

2. รัฐไม่มีมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่เพียงพอ เช่น มาตรการเชิงบังคับจำกัดรถยนต์วิ่งเข้าเมือง จัดเก็บค่าเข้าเมืองในอัตราสูง เหมือนในต่างประเทศ อย่างกรุงลอนดอนของอังกฤษ หรือสิงคโปร์ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะทำให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น โดยที่กรุงลอนดอนเห็นผลชัดเจน มีคนใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 50% จากช่วงก่อนประกาศใช้มาตรการ

ตั้งกรมการขนส่งทางรางกำกับดูแลค่าโดยสารรถไฟฟ้า

ล่าสุด ได้มีการตั้งกรมขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แยกส่วนมาจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล ควบคุมรถไฟทั่วไป รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ทั้งด้านการวางแผนพัฒนาระบบราง การควบคุมมาตรฐานงานเดินรถและบริการ การพัฒนาที่ดินและพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวเส้นทาง การลงโทษผู้ให้บริการ และการกำหนดราคาค่าโดยสาร

สำหรับการควบคุมค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอนาคตนั้น กรมขนส่งทางรางจะเข้ามาดูในเรื่องการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า การกำหนดค่าโดยสารที่เป็นธรรม โดยจัดทำมาตรฐานราคาในแต่ละสายให้มีความสอดคล้องกัน แต่ไม่มีอำนาจไปกำกับดูแลและเปลี่ยนแปลงสัญญารถไฟฟ้าที่อยู่ในสัมปทานปัจจุบันซึ่งได้ลงนามไปแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน-สายสีเขียวเข้ม รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินและรถไฟฟ้าสายสีม่วง ดังนั้นจึงมีผลการกำกับดูแลเฉพาะรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเกิด และรถไฟสายเดิมที่กำลังจะหมดอายุสัมปทาน เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว 

BTS Sky trina Silom sathorn

เตรียมเสนอ 7 มาตรการ ชงรัฐบาลใหม่

กรมขนส่งทางรางเตรียมเสนอ 7 มาตรการให้กระทรวงคมนาคมและรัฐบาลใหม่พิจารณา เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ดังนี้

1.เปลี่ยนรูปแบบสัญญาสัมปทานจาก PPP net cost เป็น PPP gross cost

2.กำหนดกรอบราคาขั้นสูงของระบบ

3.กำหนดเงื่อนไขการเชื่อมต่อเพื่อให้ค่าโดยสารไม่สูงเกินไป

4.จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างหน่วยงาน ด้านเศรษฐกิจและด้านคมนาคม ทำหน้าที่หลักในการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าบริการ

5.ยกเว้นเก็บค่าแรกเข้ากรณีเดินทางข้ามระบบโดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเปิด

6.มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า

7.อุดหนุนค่าใช้จ่ายการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า โดยจะมีการพิจารณาแหล่งเงินหรือกองทุนที่เกี่ยวข้อง โดยปริมาณการอุดหนุนค่าใช้จ่ายการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า เช่น จัดตั้งกองทุน หรือคนที่ใช้รถไฟฟ้าสามารถนำค่าโดยสารมาลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น ซึ่งจะมีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลังต่อไป

เคาะเพดานราคาสายสีเขียว 65 บาท ตลอดสาย

ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ กรุงทพมหานครได้มีการเจรจาร่วมกับผู้รับสัมปทาน บริษัท ระบบขนส่งมวลชน จำกัด (มหาชน) กำหนดเพดานอัตราค่าโดยสารสูงสุดในส่วนของไม่เกิน 65 บาท เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบในการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยค่าโดยสารตลอดเส้นทางจะอยู่ที่อัตราไม่เกิน 65 บาท จนกว่าจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2572 ไม่มีเงื่อนไขให้ผู้รับสัมปทานมาขอขึ้นค่าบริการทีหลัง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้บริการ

BTS Green line

รอความชัดเจนหลังเลือกตั้ง พิจารณาค่าโดยสารใหม่

กระทรวงคมนาคมไม่นิ่งนอนใจ พร้อมดำเนินการ หากมีนโยบายชัดเจนจากรัฐบาลต้องการปรับลดค่าโดยสาร ส่วนประเด็นที่มีพรรคร่วมรัฐบาลเสนอปรับลดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่รัฐเป็นเจ้าของและจ้างเอกชนเดินรถ โดยเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายก็สามารถทำได้ หากรัฐยอมให้รายได้ส่วนนี้ลดลง

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางอื่น เช่น สายสีน้ำเงิน หรือบีทีเอส ซึ่งเป็นการลงทุนในลักษณะ PPP ต้องเข้าไปดูในรายละเอียดว่า หากลดราคาแล้วจะเปิดโอกาสให้รัฐเข้าไปอุดหนุน เพื่อชดเชยรายได้ให้เอกชนที่สูญเสียไปได้หรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบด้าน ต้องรอหลังการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะรอความชัดเจนอีกครั้ง
จับทิศทางอสังหาฯ หลังเลือกตั้ง มีปัจจัยบวก

จากนี้คงต้องรอว่าหลังการจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อย การปรับลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะเป็นหนึ่งในแผนที่รัฐบาลนำมาพิจารณา เพื่อแก้ปัญหาการเดินทางหรือไม่ เพราะถึงแม้ปัจจุบันจะเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้ครอบคลุม แต่ถ้าประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงหรือต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงในแต่ละเดือน ไม่เพียงแต่กระทบภาระทางการเงิน แต่ยังส่งผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ ยอดขายคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าอาจไม่ขยับ หากซื้อแล้วต้องแบกรับภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพงเช่นนี้ในระยะยาว

ที่มา : ddproperty.com

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23