หนุนอุตฯ S-curve ยกเครื่อง “สิทธิประโยชน์” ลงทุนใหม่

1838

12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) มีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อนประเทศไทย ไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 เป็นอย่างมาก ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นการลงทุน ทั้งเครื่องมือจาก “บีโอไอ” และ “EEC” แต่ทว่าในสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐเป็นจังหวะดีที่ไทยต้องทบทวนสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อดึงดูดการลงทุนดึงการลงทุนจากวิกฤตเทรดวอร์

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้ให้เห็นว่า ไทยควรใช้จังหวะสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐดึงการลงทุนให้มากที่สุด จึงให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) วิเคราะห์ และทบทวนสิทธิประโยชน์ให้ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S-curve) เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะเสนอให้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ในวันที่ 14 ส.ค. 2562การปรับสิทธิประโยชน์ให้ S-curve เพิ่มจากที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้อยู่แล้ว

ได้หรือไม่นั้น จะขอเสนอให้รองสมคิดช่วยพิจารณาก่อน เพื่อหารือกับบีโอไอให้ต่อไป แต่ก็อยู่ที่ว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะกำหนดรูปแบบออกมาอย่างไร เช่น ให้สิทธิประโยชน์ตามพื้นที่ อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ (bioeconomy) ที่กำหนดพื้นที่ให้เป็น biohub คือ โซนภาคอีสาน กลางตอนล่าง กลุ่มเหล่านี้ต้องให้สิทธิประโยชน์มากกว่าปกติและชัดเจน

สำหรับ bioeconomy นอกจากมาตรการจาก BOI แล้ว กระทรวงการคลังยังได้ออกมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และเตรียมประกาศให้จังหวัดอุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา และลพบุรี เป็นพื้นที่ลงทุน biohub เพิ่มเติม

กำหนดพื้นที่เพิ่มสิทธิประโยชน์

Advertisement

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า การจะทบทวนสิทธิประโยชน์ใด ๆ อาจไม่ใช่เพียงเพิ่มสิทธิประโยชน์อุตสาหกรรมเป้าหมาย แต่อาจไปกำหนดในส่วนที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย ที่จะใช้โมเดลของ EEC ซึ่งที่ผ่านมามีการกำหนดให้ bi-oeconomy 3 จังหวัด จากนั้นให้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และดิจิทัล สามารถเกิดขึ้นได้ทุกภาค

การทบทวนสิทธิประโยชน์ต้องตีโจทย์ให้แตก ต้องกำหนดสิทธิประโยชน์จึงควรตีกรอบพื้นที่ และรูปแบบให้สิทธิประโยชน์ ประเด็นสำคัญ คือ สิทธิประโยชน์ต้องสร้างดีมานด์นำไปสู่การลงทุนในอนาคต

สิทธิประโยชน์ BOI

ปัจจุบันการจะได้รับสิทธิประโยชน์ จะแบ่งตามประเภทกิจการ กลุ่ม A1 เป็นกลุ่มสูงสุด ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 8 ปี ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร อากรวัตถุดิบเพื่อวิจัยพัฒนา อากรวัตถุดิบเพื่อส่งออก สิทธิประโยชน์อื่น ๆ

กลุ่ม A2 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี, A3 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี, A4 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ทั้งกลุ่มนี้จะไม่ได้ยกเว้นอากรวัตถุดิบเพื่อวิจัยพัฒนา และส่วนกลุ่ม B1 B2 ได้เพียงยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบเพื่อส่งออก และหากเป็นกิจการที่สนับสนุน 4 เทคโนโลยีเป้าหมาย คือ biotech, nanotech, advanced material, digital ได้เว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปี

สำหรับมาตรการส่งเสริมการลงทุน EEC นั้น นักลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 13 ปี ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% อีก 5 ปี สำหรับ 9 อุตสาหกรรม อาทิ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร ยานยนต์สมัยใหม่ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ ดิจิทัล การแพทย์ครบวงจร อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

ภายใต้เงื่อนไขต้องมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และการได้รับสิทธิประโยชน์ใด ๆ นั้น จะต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ประกาศเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ อาทิเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8+4 ปี ไม่จำกัดวงเงิน 2.เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 10+3 ปี ไม่จำกัดวงเงิน 3.เขตนวัตกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

ต้องผลิตอาหารทางการแพทย์ กิจการประกอบหุ่นยนต์ กิจการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า ได้สิทธิเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 10+3 ปี ไม่จำกัดวงเงิน การลงทุนในเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย 21 นิคมอุตสาหกรรม จะได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 10+2 ปี ไม่จำกัดวงเงิน

เมื่อลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 10+1 ปี ไม่จำกัดวงเงิน

ที่มา : www.prachachat.net

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23