ผุดรถไฟฟ้ารางเบา 10 สาย แสนล้าน! นำร่อง “ราชประสงค์-จุฬาฯ” เชื่อม กทม.ชั้นใน

1772

กทม. ให้บริษัทลูก กรุงเทพธนาคมลุยโครงการรถไฟฟ้ารางเบา เชื่อมพื้นที่เศรษฐกิจกรุงเทพฯชั้นใน 10 เส้นทาง 1.2 แสนล้านบาท ใช้ระบบสัมปทาน นำร่อง 2 เส้น “ราชประสงค์-จุฬาฯ” ยกให้ “อาร์ทีซี บัส” ดำเนินการ

ปัญหาวิกฤติจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ทำให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแนวคิดพัฒนาขนส่งมวลชนระบบรอง นอกจากบรรเทาการจราจรบนเส้นทางหลักแล้ว เพื่อให้การลงทุนรถไฟฟ้าของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการดึงคนที่อยู่ในเส้นทางซึ่งรถไฟฟ้าสายหลักเข้าไม่ถึง ให้เข้าสู่ตัวสถานีใหญ่ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยไม่เสียเวลาต่อโดยสารรถประจำทาง จักรยานยนต์รับจ้าง ลดการเดินทาง ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว จึงสรุปว่า การเชื่อมต่อโดยระบบรางเหมาะสมที่สุด จึงทำให้เกิดโครงการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Tram ในเขตกรุงเทพมหานคร

2

ฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย

ที่มาภาพ : ฐานเศรษฐกิจ

Advertisement

นำร่อง 2 เส้นทาง

นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC BUS) สมาคมฯ และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัทลูกของ กทม. ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบา หรือ แทรม วางเป้า 10 เส้นทาง มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ใช้รูปแบบเดียวกับการลงทุนรถไฟฟ้าบีทีเอส โดย กทม. เป็นเจ้าของสัมปทาน

เบื้องต้น นำร่องลงทุน 2 เส้นทาง วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ได้แก่ เส้นราชประสงค์และจุฬาฯ พระราม 4 ระยะทางเส้นละประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร รูปแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเบา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าบีทีเอสประมาณครึ่งเมตร ขนาดความกว้างของรางมาตรฐานเหมือนต่างประเทศ 1.435 เมตร ความจุผู้โดยสารรวมนั่ง-ยืน จำนวน 98-100 คน ต่อ 1 คัน (3 ตู้) 2 เส้นทาง จำนวน 10 คัน จัดทำระบบรางบนถนน พร้อมป้ายสถานี ภายในรถจะเป็นดิจิตอล มีไวไฟ และระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ ฯลฯ เหมือนบีทีเอส

3

ภาพแนวความคิด :

ย่านศูนย์กลางธุรกิจย่านหนึ่งในเมืองซิดนีย์ที่มีรถรางเบาพาดผ่าน ส่งเสริมเมืองแห่งการเดิน ส่งเสริมการพาณิชยกรรม

(CBD AND SOUTH EAST LIGHT RAIL)

ที่มาภาพ : https://www.hassellstudio.com/en/cms-projects/detail/sydney-cbd-and-south-east-light-rail

ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ส่งเสริมการเดินทางสีเขียว หรือ กรีน ทรานสปอร์ตเตชั่น ส่งเสริมเชื่อมไปจุดเล็กจุดน้อยได้ ลงบีอาร์ที ขึ้น แทรม เข้าสถานทูตสหรัฐฯ เพื่อทำวีซ่า เป็นต้น จากที่ผ่านมา รถไฟฟ้าหลักเข้าไม่ถึง แต่กลับมีสถานทูต โรงแรม ในย่านนั้นค่อนข้างมาก มหานครใหญ่ของโลกหลายประเทศใช้ระบบรางรูปแบบนี้ กทม. ก็เช่นกัน

กทม. เตรียมให้สัมปทาน

สำหรับขั้นตอน รอจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ แต่จะหารือ กทม. ขอเข้าโครงการเร่งด่วน หรือ ฟาสต์แทร็ก ขณะเดียวกัน กทม. อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดการออกใบอนุญาตสัมปทานเดินรถให้กับ RTC Bus ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่เสนอตัวเข้ารับสัมปทานและเป็นเอกชนรายเดียวกับลงทุนสมาร์ทบัสที่วิ่งให้บริการปัจจุบันที่ จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้ โครงสร้างรางจะก่อสร้างบนผิวถนนบริเวณกึ่งกลาง เมื่อรถไฟฟ้าวิ่งผ่านแล้ว รถยนต์สามารถวิ่งทับเส้นทางได้ ประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 สามารถลงมือก่อสร้างระบบรางได้ โดยใช้ระยะเวลา 18 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดเดินรถได้อย่างเร็วปลายปี 2563 อย่างช้าต้นปี 2564 สำหรับ 2 เส้นแรก

ทะลวงเส้นทางผ่านตึกสูง

ลักษณะเส้นทางสายราชประสงค์ จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณแยกราชประสงค์ ผ่านเพชรบุรี จากนั้นไปจุฬาฯ สาเหตุที่เลือกย่านนี้ เพราะมีคนเข้ามาชุมนุมค่อนข้างมาก ซึ่งรถไฟฟ้ารางเบาจะช่วยส่งคน ส่วนเส้นทางฝั่งพญาไท ผ่านมาบุญครอง จุฬาฯ โรงแรมเอเชีย และย่านพาณิชยกรรมโดยรอบโรงแรมเอเชีย เซ็นทรัลชิดลม ออกพระราม 4 และวันแบงค็อก ฯลฯ

ขณะที่ เส้นราชดำริ จุดเริ่มต้นวิ่งไปทางประตูน้ำ อ้อมเมือง ผ่านย่านมักกะสัน เข้าซอยนานา จากนั้นวิ่งยาวไปตามถนนสุขุมวิท เมื่อถึงสี่แยกสีลมเลี้ยวขวา วิ่งลงไปถนนราชดำริ ซึ่งจะวิ่งเป็นวงรอบ โดยสายนี้จะมีสถานีอยู่หน้าศูนย์การค้าเกษร ย่านนั้นมีเซ็นทรัล บิ๊กซี ส่วนถนนเพชรบุรี จะมีพันธุ์ทิพย์ แพลทินัม (สาขาแรก) ย่านการค้าปลีกประตูน้ำ วิ่งวนมายังราชปรารภ เข้าราชประสงค์

3-1

เครดิตภาพ และ บทความ : ฐานเศรษฐกิจ

สำหรับจำนวนรถจะใช้ 4 คัน ต่อ 1 เส้นทาง ส่วนอีก 2 คัน รอเสริม รวม 10 คัน ส่วนระยะเวลารถไฟฟ้าวิ่งมาถึงสถานีประมาณ 15 นาที ต่อ 1 คัน ระยะแรกจะทดสอบไปก่อน แต่หากรถติดมากจะเพิ่มจำนวนรถ เพื่อรักษาระยะเวลาไม่ให้เกิน 15 นาที และจะลดลงให้เหลือระยะเวลาที่ผู้โดยสารรอรถเพียง 10-12 นาที (ตามลำดับ) แต่หากเทียบกับรถไฟฟ้าเส้นหลัก ระยะเวลาการรอ 7 นาที

สำหรับเส้นราชประสงค์มีความแออัดมาก กทม. จึงขอให้เอกชนนำรถสมาร์ทบัสมาวิ่งทดแทนรถไฟฟ้าก่อนกลางปีหน้า ระหว่างรอก่อสร้างราง

นอกจากนี้ ทั้ง 2 เส้นทาง ยังเชื่อมแอร์พอร์ตลิงค์ เชื่อมไปสุวรรณภูมิ ขึ้นเครื่องบินต่อไปต่างประเทศได้สะดวก เรียกว่า สามารถเชื่อมโลกรวมถึงเชื่อม 3 สนามบิน เลี่ยงขวาไปอีอีซี เชื่อมสนามบินอู่ตะเภา หากเลี้ยวขวาไปดอนเมืองขึ้นเครื่องได้เช่นกัน

5

พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย

ที่มาภาพ : ฐานเศรษฐกิจ

คิวต่อไปอนุสาวรีย์-ราชวิถี

นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ระบุว่า รถไฟฟ้าทั้งบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที และแอร์พอร์ตลิงค์ และอีก 12 สายใหม่ เป็นเส้นทางผ่าเมืองและเป็นรูปแบบดาวกระจาย แต่พื้นที่ด้านในต้องใช้รถไฟฟ้ารางวิ่งวนเป็นวงรอบในพื้นที่ระยะทางแต่ละเส้นไม่เกิน 10 กิโลเมตร เคลื่อนรับส่งคนแต่ละจุด เน้นชุมชนใหญ่ เพื่อป้อนสถานีหลักของรถไฟฟ้าบีทีเอส-เอ็มอาร์ที

นอกจาก 2 เส้นทาง ในเขตกรุงเทพฯชั้นในแล้ว เส้นในอนาคตที่มองกันอยู่และยังเดินทางลำบาก แม้จะอยู่ในกลางเมือง คือ เส้นสุขุมวิท วนรอบย่านอโศก วิ่งไปแอร์พอร์ตลิงค์ ไปราชปรารภ และเชื่อมที่เพชรบุรี ทะลุประตูน้ำ เพราะทำเลนี้ยังไม่มีรถไฟผ่าน ทำให้พื้นที่เงียบเหงา และคนต้องรอรถโดยสารเป็นเวลานาน จึงต้องพึ่งพาจักรยานยนต์รับจ้าง แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ

อีกทำเลที่น่าสนใจ ที่อนาคตต้องเดินหน้าต่อ ได้แก่ ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วิ่งวนเป็นวงรอบไปยังถนนราชวิถี และวนกลับมาที่อนุสาวรีย์ชัยฯ อีกครั้ง เป็นวงรอบ กวาดคนเข้ามาเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสเพื่อเดินทางต่อ

อย่างไรก็ดี ในฐานะที่ร่วมเสนอโครงการดังกล่าวไป ต้องดูว่าต้องประมูลหรือไม่ แต่หากผ่าน กทม. แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และสามารถก่อสร้างได้เลย

6

ทวีศักดิ์ เลิศประพันธุ์ รองผู้ว่า กทม.

ที่มาภาพ : ฐานเศรษฐกิจ

กทม. หนุนเต็มสูบ

นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธุ์ รองผู้ว่า กทม. ระบุว่า โครงการรถไฟฟ้ามวลเบา หรือ ไวร์เลสแทรม รุ่นเก่า ประเทศในแถบยุโรปใช้จะเป็นรุ่นแตะสายไฟ แต่รุ่นที่จะนำมาใช้ในเขตกรุงเทพมหานครจะเป็นรุ่นใหม่เหมือนรถวิ่งตามสนามบินเป็นล้อเหล็ก แต่วิ่งบนรางแทน มีความทันสมัยเหมือนรถไฟฟ้าโมโนเรล และสามารถวิ่งเข้าสถานีชาร์จใช้เวลาเพียง 13-14 วินาที ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นระบบขนส่งรองเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายหลัก บริเวณสถานีสำคัญ ๆ ซึ่งที่ผ่านมา ทางบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กทม. ร่วมกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเอกชนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี

 

3-3

เครดิตภาพ และ บทความ : ฐานเศรษฐกิจ

 

3-4

เครดิตภาพ และ บทความ : ฐานเศรษฐกิจ

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23