อสังหาฯ 4.0 มาแรง! ชูไฮเทคสนองไลฟ์สไตล์ ‘กลุ่มเจนซี’ ทุกมิติ

979

นายกสมาคมการค้าอสังหาฯ ชี้! ลูกค้าปัจจุบันต้องการความสมบูรณ์แบบสูง เน้นเทคโนโลยีตอบรับไลฟ์สไตล์ ส่งผลตลาดแข่งขันสูง นอกจากผู้ประกอบการของไทยด้วยกันแล้ว ยังมีนักลงทุนข้ามชาติ ระบุ ห่วงรายเล็กไม่ปรับตัวอาจถูกกลืน ด้าน ดีดีพร็อพ เผย ฟังก์ชันดีกลายเป็นจุดเด่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ยุค 4.0 ถูกท้าทายกับการเข้ามาของเทคโนโลยี 

ที่มาพร้อมกับนักลงทุนข้ามชาติ ซึ่งเป็นผู้ซื้อและผู้พัฒนาอสังหาฯ เข้ามาแข่งขันในตลาดด้วย ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ของไทยต้องปรับตัว เพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาดโลก และสร้างสมดุล ต่อยอดธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
นายอภิชาติ ประสิทธิ์นฤทธิ์ นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร เปิดเผยว่า ปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาอสังหาฯ ในทุกมิติ ทั้งเทคโนโลยีเพื่อการวางแผนเตรียมที่ดิน, การออกแบบการก่อสร้าง, ฟังก์ชันการจัดการชีวิตความเป็นอยู่ของลูกบ้าน ซึ่งจะเริ่มเห็นการชูเทคโนโลยี หรือ ฟังก์ชันเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นจุดเด่นให้กับโครงการ เพื่อตอบรับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้า นอกจากจะต้องแข่งกันเองแล้ว มีการใช้เทคโนโลยีเป็นช่องทางการขาย หรือ ทำการตลาดกับลูกค้ากลุ่ม GEN C หรือ ผู้บริโภคยุคดิจิตอล ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยช่วงวัย แต่พบว่า มีการตอบสนองต่อเทคโนโลยีสูง 

กลุ่มที่น่าจับตามอง คือ โครงการมิกซ์ยูส หนึ่งทำเล แต่มีความหลากหลายของการใช้ชีวิต เป็นทั้งที่พักอาศัย ที่ทำงาน ดังนั้น ผู้พัฒนาอสังหาฯ จะต้องให้ความสำคัญ โดยเลือกใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ ให้เหมาะสมกับโครงการและไม่ได้ขึ้นกับเงินทุนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากหลาย ๆ โครงการ ก็พัฒนาฟังก์ชันเพื่อผู้อยู่อาศัยได้อย่างตรงจุด โดยไม่ได้ใช้เงินทุนมหาศาล ขณะเดียวกัน ฟังก์ชันที่ลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก ก็อาจไม่ตอบโจทย์ของลูกบ้านเช่นกัน โดยความเข้าใจของดีเวลอปเปอร์นั้นต้องมาเป็นอันดับแรก ก่อนหาข้อมูล และบริหารจัดการงบประมาณให้เหมาะสม

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ระบุว่า ปัจจุบัน มีคนออนไลน์ในเครือพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป 4 ประเทศ ถึง 25 ล้านคน คนไทยประมาณ 3.4 ล้านคน ที่เข้ามาอ่านข่าวสารและเลือกสรรอสังหาฯ โดยเฉพาะ สะท้อนว่า ลูกค้าในปัจจุบัน ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเดินเข้าโชว์รูมเพื่อพิจารณาโครงการอีกต่อไป เพราะสามารถดูจากออนไลน์ แม้กระทั่งคลิกดูแบรนด์และมูลค่าของเฟอร์นิเจอร์ ไม่ต่างจากการเปิดจองโครงการ ก็ทำผ่านออนไลน์เช่นกัน ส่วนการปรับตัวของผู้ประกอบการที่เห็นได้ชัด พบหลาย ๆ โครงการ มีการจ่ายแท็บเลตแก่ลูกบ้าน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสั่งการเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ สั่งซื้อของจากภายนอก และส่งตรงถึงเมล์บ็อกซ์ของโครงการได้ในเวลาไม่นานทำให้แนวโน้มในอนาคตนั้น มองว่า แทบทุกบ้านจะมีเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นฟังก์ชันเสริมเข้ามา ซึ่งโครงการใดที่มีฟังก์ชันเสริมเข้ามาาซึ่งโครงการใดที่มีฟังก์ชันใหม่ ๆ แตกต่าง และตอบโจทย์การใช้งาน หรือ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้นั้น นอกเหนือจากเรื่องของทำเลที่ตั้ง และการออกแบบ นับเป็นจุดขายในการแข่งขันในตลาดอีกทาง

“หากเป็นบริษัทใหญ่ การนำเทคโนโลยีมาใช้คงไม่ใช่เรื่องยาก เลือกสิ่งที่ต้องการและพาร์ตเนอร์กับบริษัทนั้น ๆ ได้ทันท่ ขณะที่ ผู้ประกอบการรายเล็กก็ไม่ได้เสียโอกาสซะทีเดียว เพราะพาร์ตเนอร์ที่เป็นกลุ่มสตาร์ตอัพก็พร้อมที่จะแชร์เทคโนโลยี เพื่อขยายฐานลูกค้าเช่นกัน ฉะนั้น เรื่องเงินทุนไม่จำเป็นเสมอไป”



หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 9 เม.ย. 2561

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23