ภาพรวมตลาด
มร.คาร์ลอส มาร์ติเนซ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 6.7 ล้านคน ลดลงถึง 83% ปีต่อปี จาก 39.9 ล้านคน ในปี 2562 เนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 โดยระหว่างเดือนเมษายน ถึงกันยายนปี 2563 ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ ขณะที่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 10,822 คน ด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวแบบพิเศษระยะยาว ซึ่งต้องกักตัว 14 วัน
จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดในปี 2563 ส่วนใหญ่มาจากเอเชียตะวันออก คิดเป็น 56% ตามมาด้วยยุโรป 31% และอีกประมาณ 20% มาจากจีน ซึ่งยังคงเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุด
ในเดือนกรกฎาคมปี 2563 รัฐบาลไทยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในภายประเทศ และเป็นการพยายามชดเชยบางส่วนจากการไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศ มาตรการดังกล่าวคือการช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 40% ของราคาห้องพักปกติเป็นจำนวน 5 ล้านสิทธิ ซึ่งโรงแรงส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์ในช่วงวันหยุดยาว เช่นโรงแรมในพัทยา และหัวหิน เป็นต้น ในขณะที่โรงแรมระดับลักชัวรี่เสนอแพ็คเกจ “staycation” เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวภายในประเทศด้วยส่วนลดพิเศษต่างๆ
กราฟที่ 1 : จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกรุงเทพฯ
อุปทานและอุปสงค์
บริเวณสุขุมวิทตอนต้น ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยอุปทานโรงแรมระดับลักชัวรี่ประมาณ 40% ของอุปทานทั้งหมด ตามมาด้วยเขตลุมพินี (22%) สีลมและสาทร (15%) และริมแม่น้ำ (16%)
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปลายปี 2562 ทำให้ตลาดได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยในปี 2563 มีอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยของโรงแรงระดับลักชัวรี่ในกรุงเทพฯ เพียง 27% อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 มีอัตราการเข้าพักมากกว่า 50% และลดลงไปต่ำสุดที่ 20% ในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 โดยอัตราดังกล่าวมาจากแพ็คเกจ Staycations และโครงการสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine) ขณะที่ภาครัฐอนุมัติให้กรุงเทพฯ เป็นจุดเข้า-ออก สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่เนื่องจากอัตราการเข้าพักที่ต่ำ ทำให้บางโรงแรงหยุดให้บริการจนกว่าตลาดจะกลับมาฟื้นตัว
กราฟที่ 2 : จำนวนห้องพักโรงแรมระดับลักซัวรี่ในกรุงเทพฯ
ในปี 2563 อัตราค่าห้องเฉลี่ยต่อวัน (ADR) ของโรงแรงระดับลักชัวรี่ลดลง 12% เฉลี่ยอยู่ที่ 4,486 บาท ส่งผลมาจากส่วนลดพิเศษต่างๆ ที่เสนอให้กับนักท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และในสภาวะที่อัตราการเข้าพักต่ำโรงแรงบางแห่งจึงได้ปิดตัวลงชั่วคราว
กราฟที่ 3 : อัตราการเข้าพักและราคาเฉลี่ยรายวันของโรงแรมระดับลักซัวรี่ในกรุงเทพฯ
ช่วงครึ่งหลังของปี 2563 มีโรงแรงระดับลักชัวรี่เปิดใหม่ 4 แห่งในกรุงเทพฯ ทำให้มีอุปทานเพิ่มขึ้น 1,162 ห้อง ได้แก่ โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์กรุงเทพ (301 ห้อง) โรงแรมสินธรเคมปินสกี้กรุงเทพ (285 ห้อง) โรงแรมสินธรมิดทาวน์กรุงเทพ (475 ห้อง) และโรงแรม เดอะ คาเพลลากรุงเทพ (101 ห้อง) ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ใจกลางย่านเศรษฐกิจ (CBD) ขณะที่การเปิดตัวของโรงแรมอื่น ๆ ในกลุ่มอัพสเกลและมิดสเกล รวมอยู่ที่ 985 ห้อง ได้แก่ อาศัย กรุงเทพ ไชน่าทาวน์ (224 ห้อง) ไลฟ์ สุขุมวิท 8 บางกอก (196 ห้อง) โรงแรมซัมเมอร์เซ็ต พระราม 9 กรุงเทพ (445 ห้อง) และ เดอะ ควอเตอร์ เพลินจิต (129 ห้อง)
การระบาดของไวรัสโควิด -19 ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมชะลอการเปิดโครงการใหม่ โดยมีโรงแรมสองแห่งเลื่อนการเปิดให้บริการในปี 2563 รวมทั้งหมด 413 ห้อง ซึ่งได้แก่ โรงแรม โอเรียนท์ เอ็กซ์เพรส มหานคร (154 ห้อง) และ โรงแรม ชไตเกนเบิร์กเกอร์ ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ (259 ห้อง) นอกจากนี้แผนการพัฒนาโรงแรมใหม่ในปี 2563 ยังถูกเลื่อนออกไป
โรงแรมระดับลักชัวรี่กรุงเทพฯ มีจำนวนห้องพักรวมทั้งสิ้น 20,555 ห้อง ณ สิ้นปี 2563
แนวโน้มตลาด
มร. มาร์ติเนซ กล่าวเสริมว่า ได้มีการคาดการณ์กันว่าประเทศไทยจะสร้างสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงสุดในปี 2563 แต่น่าเสียดายที่มันอยู่ในระดับต่ำสุดแทน เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส-19 โดยตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกรุงเทพฯลดลงจนเหลือ 0 ส่งผลให้ความต้องการห้องพักในโรงแรมลดลงอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่าตลาดโรงแรมหรูในกรุงเทพฯ พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติค่อนข้างสูง การพึ่งพาการท่องเที่ยวภายในประเทศเพียงอย่างเดียวมาเพียงพอ ทำให้โรงแรมหลายแห่งเลือกที่จะปิดธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมด จนกว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัวของตลาด
ในส่วนของโรงแรมที่เปิดให้บริการนั้นยังคงไม่ดีนัก มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพียง 20% ส่วนใหญ่มาจากแพ็คเกจ Staycation และนักท่องเที่ยวต่างชาติจากโครงการกักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine)
สถานะการยังคงมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเกิดโควิด -19 ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย ในเดือนมกราคม 2564 แต่อย่างไรก็ตามภายใต้วัคซีนป้องกันโควิด -19 ที่จะเริ่มใช้ในประเทศไทยและทั่วโลก เราคาดหวังว่าจะเห็นจุดฟื้นตัวของภาคโรงแรมในปลายปี 2564 หรืออาจเป็นต้นปี 2565
รัฐบาลไทยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะขยับขึ้นเป็น 8 ล้านคนในปี 2564 และจะค่อยๆฟื้นตัวจนถึงระดับก่อนเกิดโควิด ที่มีนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน ภายในปี 2567 ชายแดนไทยยังไม่เปิดจนกว่าการใช้วัคซีนจะประสบความสำเร็จ โดยรัฐบาลไทยคาดว่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศไทยจะได้รับฉีดวัคซีนภายในสิ้นปี 2564 โดยในสถานการณ์นี้ อัตราค่าห้องเฉลี่ยต่อวันอาจปรับลดลงอีก เนื่องจากผู้ประกอบการแข่งขันกันเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนเดียวในช่วงต้นปี 2564 นี้ เมื่อข้อจำกัดด้านการเดินทางผ่อนคลายลง การกลับมาฟื้นตัวจะเริ่มจากนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเดียวกันก่อน พร้อมกับการเดินทางเชิงธุรกิจ ตามมาด้วยการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในภาคการท่องเที่ยวจากต่างชาติและธุรกิจ MICE ที่ประกอบไปด้วย ธุรกิจการจัดการประชุมขององค์กร (Meeting) การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive) การจัดการประชุมนานาชาติ (Conventions) และการจัดการแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibitions)
อัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยในกรุงเทพฯ คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยอาจจะเห็นการปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี2564 โดยเฉพาะในช่วงไฮซีซั่นในไตรมาสสุดท้าย หากมีการยกเลิกข้อจำกัดด้านการเดินทาง