มร.มาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ผู้เช่าในตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯกำลังประสบกับปัญหา ผู้เช่าสำนักงานจะต้องเจอกับอัตราค่าเช่าสำนักงานที่สูงขึ้น โดยที่คุณภาพและทำเลที่ไม่ต่างกัน การวางแผนในตอนนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยเราแนะนำให้ผู้เช่าทำการวิเคราะห์และพิจารณาอย่างละเอียดกับแผนการเลือกพื้นที่อาคารสำนักงานของตนเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีก่อนสัญญาเช่าจะหมดอายุ หรือนานกว่านั้นหากมีความต้องการด้านพื้นที่เพิ่มเติม หรือเป็นองค์กรต่างชาติ”
ไฮไลท์สำคัญ
- ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของระบบเศรษฐกิจไทยดีขึ้น
- จำนวนพื้นที่สำนักงานใหม่ให้เช่าในเขตกรุงเทพฯ ขยายตัวประมาณ 36,368 ตร.ม. ในไตรมาส 2 แต่ลดลงร้อยละ1 จากไตรมาส 1
- อัตราการครอบครองพื้นที่โดยรวมอยู่ที่ร้อยละ82
- ค่าเช่าโดยเฉลี่ยประจำไตรมาสทรงตัวทั่วทั้งตลาด แต่ยังคงปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ5 ต่อปี
อุปทาน
จากรายงานวิจัยของไนท์แฟรงค์ประเทศไทยแสดงให้เห็นว่าจำนวนอุปทานสำนักงานไตรมาสที่ 2 ปี 2560 อยู่ที่ 4,877,670 ตร.ม. อาคารสำนักงานที่เพิ่งเปิดตัวในปีนี้ ได้แก่ อาคารเกษร ทาวเวอร์ (32,312 ตร.ม.) กับอาคารภิรัชทาวเวอร์ที่ไบเทค (31,880 ตร.ม.) และในอนาคตอาคารใหม่ๆ ส่วนใหญ่ในช่วง 3 ปีข้างหน้าจะตั้งอยู่นอกพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจที่กำลังเติบโตเป็นพื้นที่พาณิชย์แห่งใหม่
กราฟที่ 1
อุปทานและอุปทานใหม่สำนักงานในกรุงเทพฯ จากปี 2555 ถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2560
ที่มา: ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย
หมายเหตุ: ตัวเลขเหล่านี้ไม่นับรวมอาคารที่มีเจ้าของหลายรายและอาคารที่มีพื้นที่น้อยกว่า 5,000 ตร.ม.
อุปทานในอนาคต
ผลวิจัยคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีอุปทานเพิ่มเข้ามาในตลาด 64,192 ตร.ม. และในสิ้นปี 2562 จะมีอุปทานใหม่ซึ่งรวมโครงการที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างทั้งสิ้น 350,511 ตร.ม.
ตารางที่ 1
อุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในอนาคต
ที่มา: ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย
ตารางที่ 2
อุปทานพื้นที่รวมสำนักงานในกรุงเทพฯในอนาคต
ที่มา: ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย
อุปสงค์
ในไตรมาสที่ 2 มีพื้นที่ที่ถูกครอบครองในตลาดสำนักงานรวมทั้งสิ้น 4,454,894 ตร.ม. คิดเป็นอัตราครอบครองรวมร้อยละ 90.82 โดยอัตราพื้นที่ว่างของอาคารเกรด A โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7.5 อาคารเกรด B อยู่ที่ร้อยละ 6.45, และอาคารเกรด C อยู่ที่ร้อยละ 12.14 พื้นที่สำนักงานใหม่ให้เช่าในเขตกรุงเทพฯเพิ่มขึ้นจำนวนประมาณ 36,368 ตร.ม. แต่ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 37.1 อุปสงค์นี้แสดงการเติบโตเพียงเล็กน้อยทุกๆปีตั้งแต่ปี 2555
หมายเหตุ: ตัวเลขเหล่านี้ไม่นับรวมอาคารที่มีเจ้าของหลายรายและอาคารที่มีพื้นที่น้อยกว่า 5,000 ตร.ม.
กราฟที่ 2
อุปสงค์, อุปทานและอัตราการครอบครอง จากปี 2555 ถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2560
ที่มา: ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย
กราฟที่ 3
การวิเคราะห์อุปทานและอุปสงค์สำนักงานกรุงเทพฯ จากไตรมาสที่ 1 ปี 2557 ถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2560
ที่มา: ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย
ตารางที่ 3
อัตราการครอบครอง โดยแบ่งตามเกรด จากไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2560
ที่มา: ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย
อัตราค่าเช่า
อัตราค่าเช่าพื้นที่สำนักงานในเขตกรุงเทพฯมีการปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา อัตราค่าเช่าที่ตั้งไว้โดยเฉลี่ยในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ราคาอยู่ที่ 702 บาท/ ตร.ม./เดือน ซึ่งยังทรงตัวจากไตรมาสที่แล้ว อย่างไรก็ตามค่าเช่าทำการปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว อยู่ที่ร้อยละ 1.5 และคาดว่าแนวโน้มนี้จะยังคงเดิมในไตรมาสที่ 3 และในอนาคต
อัตราค่าเช่าโดยเฉลี่ยต่อเดือนของสำนักงานเกรด A ราคาอยู่ที่ 952 บาท/ ตร.ม./เดือน, อาคารเกรด B ราคาอยู่ที่ 705 บาท/ ตร.ม./เดือน, และอาคารเกรด C ราคาอยู่ที่ 450 บาท/ ตร.ม./เดือน
ส่วนในไตรมาสที่ 2 เราเห็นอาคารสำนักงานหลายแห่งในกรุงเทพฯที่ตั้งอัตราค่าเช่ามากกว่า 1,000 บาทมี บาท/ ตร.ม./เดือน
กราฟที่ 4
อัตราค่าเช่าของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ แบ่งตามเกรด จากไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2560
ที่มา: ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย
ตารางที่ 4
อัตราค่าเช่าของอาคารสำนักงาน แบ่งตามเกรดและการเพิ่มขึ้นแบบร้อยละ (%)
ที่มา: ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย
กราฟที่ 5
อัตราค่าเช่าของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ แบ่งตามถนน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560
ที่มา: ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย