ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยรายงานแนวโน้มตลาดคอนโดมิเนียมระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์ม ราคาขายเฉลี่ยคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ไพร์มสูงสุดเป็นประวัติการณ์

1067
Luxury modern Living room Interior design(3d render)

ไฮไลท์

• ณ ช่วงสิ้นปีพ.ศ. 2560 อุปทานสะสมคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 21,330 ยูนิต ซึ่งแสดงถึงการเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 51 ปีต่อปี อุปทานใหม่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณไพร์มสุขุมวิทและลุมพินีกลาง

• เนื่องด้วยปัญหาการขาดแคลนที่ดินพัฒนาและการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน โครงการคอนโดฯระดับซูเปอร์ไพร์มสามารถตั้งราคาขายเฉลี่ยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 366,745 บาท/ตร.ม. ในปีพ.ศ. 2560 ขณะที่ราคาขายเฉลี่ยของคอนโดฯระดับไพร์มอยู่ในระดับสูงสุดด้วยเช่นกัน โดยมีราคาอยู่ที่ 238,515 บาท/ตร.ม.

• ตลาดคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังคงดึงดูดความสนใจจากกลุ่มผู้ซื้อเศรษฐี โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อกลุ่มผู้ซื้อในภาคตลาดนี้ เนื่องจากผู้ซื้อส่วนใหญ่สามารถซื้อได้ด้วยเงินสด

จากรายงานวิจัยของไนท์แฟรงค์ประเทศไทย คาดว่าในปีพ.ศ. 2561 ตลาดคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามปริมาณอุปทานที่เพิ่มขึ้นและความต้องการที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยนักพัฒนาโครงการอสังหาฯยังคงเปิดตัวโครงการใหม่ๆ ตลอดทั้งปีนี้ เนื่องจากอสังหาฯและยูนิตระดับไฮเอนด์ในกรุงเทพฯยังคงดึงดูดความสนใจจากผู้ซื้อทั้งในและนอกประเทศ การพัฒนาในพื้นที่ทำเลทองอย่างบริเวณไพร์มสุขุมวิทและลุมพินีกลางจะยังคงมีอยู่ตลอด สำหรับด้านอุปสงค์ ความต้องการยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากอุปทานระดับไพร์มมีจำนวนจำกัดและส่วนใหญ่มักถูกครอบครองโดยกลุ่มผู้ซื้อชาวไทยที่ร่ำรวย อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเห็นผู้ซื้อชาวต่างประเทศมากขึ้นในตลาดนี้ โดยเฉพาะผู้ซื้อชาวจีน, ฮ่องกง และไต้หวัน สำหรับราคาขายเฉลี่ยคาดการณ์ว่าจะปรับสูงขึ้นตามปัญหาการขาดแคลนของที่ดินในย่านไพร์มและการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน ซึ่งทำให้นักพัฒนาโครงการมีทางเลือกน้อย โดยจำเป็นต้องสร้างโครงการราคาสูงเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการลงทุน

Advertisement

ภาพรวมตลาด

ตลาดคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯ ณ สิ้นปีพ.ศ. 2560 แสดงอัตราการครอบครองที่ปรับลดลง แต่ยังคงรักษาแนวโน้มการเติบโตของตลาดและการพัฒนาโครงการ โดยในพื้นที่ย่านไพร์มมีโครงการใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งสร้างมาตรฐานการใช้ชีวิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านที่อยู่อาศัยชั้นนำอย่างในบริเวณไพร์มสุขุมวิทและลุมพินีกลางที่มีอุปทานใหม่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันผู้พัฒนาโครงการชั้นนำในตลาดนี้ทำการยกระดับตลาดคอนโดฯ ไพร์มและซูปเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯ โดยร่วมมือกับบริษัทก่อสร้างและสถาปัตยกรรมชั้นนำ เพื่อสร้างโครงการที่เน้นความโดดเด่นและทันสมัย สำหรับด้านอุปสงค์ ตลาดคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯ แสดงอัตราการชะลอตัวลงในบางพื้นที่ ในช่วงปีพ.ศ. 2560 เนื่องจากยังมีอุปทานสะสมอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก แม้อุปสงค์จะแสดงอัตราลดลง แต่ราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรยังคงปรับสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาที่ดินพัฒนาที่มีจำกัดบนถนนสายหลักและการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน

 

อุปทานแบ่งตามพื้นที่

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย

อุปทาน

จากสุขุมวิทถึงลุมพินีกลาง และสาทรถึงริมฝั่งแม่น้ำ อุปทานคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯในปีพ.ศ. 2560 แสดงอัตราการเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 135.8 และ 135.7 จากปีก่อนตามลำดับ โดยมีโครงการใหม่และกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ตามการเติบโตของอุปทานแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักพัฒนาโครงการต่อตลาดนี้ จากผลการสำรวจตลาดคอนโดฯ ระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มใน กรุงเทพฯจะเห็นว่ามีการเปิดตัวโครงการประมาณ 7,200  ยูนิตในปีพ.ศ 2560 โดยร้อยละ 34 ตั้งอยู่ในบริเวณสุขุมวิท และบริเวณลุมพินีร้อยละ 24 บริเวณพระราม 4  อยู่ที่ร้อยละ 11 ส่วนที่เหลืออยู่ในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ, สีลม-สาทร, พญาไท และรัชดาภิเษก-พระราม 9 มีโครงการคอนโดฯระดับซูเปอร์ไพร์ม 10 แห่งที่มีจำนวนยูนิตรวมกัน 1,306 ยูนิตเปิดตัวในปีพ.ศ. 2560 โดยแสดงการเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ135.7 จาก 554 ยูนิตในปีก่อนหน้า ในขณะเดียวกันอุปทานใหม่จากโครงการ 15  แห่งที่มียูนิตรวมทั้งสิ้น 5,876 ยูนิตเพิ่มเข้ามาในตลาดคอนโดฯระดับไพร์ม โดยแสดงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 135.8 ปีต่อปี

กราฟที่ 1 และ 2
อุปทานสะสมคอนโดมิเนียมระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์ม

                                ซูเปอร์ไพร์ม                                                                      ไพร์ม

ที่มา:  ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย

อุปสงค์

อุปสงค์ในปี พ.ศ. 2560 ตลาดคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากมีปริมาณอุปทานสะสมอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลลัพธ์จากปริมาณอุปทานที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้อัตราการครอบครองในตลาดซูเปอร์ไพร์มลดลงประมาณร้อยละ 14 ปีต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 67 ในขณะที่ความต้องการยูนิตระดับไพร์มมีอัตราการครอบครองเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 76.5ลดลงไปประมาณร้อยละ 2 ปีต่อปี แม้ว่าอัตราการครอบครองเฉลี่ยจะลดลงเนื่องจากมีปริมาณอุปทานสะสมอยู่ในตลาด แต่ปริมาณความต้องการตามข้อมูลสำรวจพบว่ายูนิตที่ขายออกต่อปีพุ่งสูงขึ้นทั้งในตลาดไพร์มและซูเปอร์ไพร์ม โดยก่อนหน้านี้มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดอยู่ที่ประมาณ  3,370  ยูนิตปีต่อปี โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 80  ยูนิตปีต่อปี นอกจากนี้ความต้องการของโครงการระดับไฮเอนด์ที่มีทำเลและรูปแบบที่ดียังคงเป็นที่น่าสนใจ โดยผู้ซื้อมักซื้อไว้เพื่อการอยู่อาศัยเองหรือเพื่อเก็งกำไรในระยะยาว

กราฟที่ 3 และ 4

อุปทาน อุปสงค์สะสมและอัตราการครอบครองของคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์ม

                                  ซูเปอร์ไพร์ม                                                                         ไพร์ม

ที่มา:  ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย

แนวโน้มด้านราคา

ราคาขายเฉลี่ยของคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2560 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 302,630 บาท/ตร.ม. และหากดูในแต่ละภาคตลาดย่อย จากผลสำรวจของไนท์แฟรงค์ประเทศไทย พบว่าราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรของคอนโดฯระดับซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 26 ปีต่อปี โดยมีราคาอยู่ที่  366,745 บาท/ตร.ม. ในขณะที่ราคาขายเฉลี่ยของคอนโดฯระดับไพร์มปรับขึ้นไปที่ 238,515 บาท/ตร.ม. เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 ปีต่อปี ทั้งนี้ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัย 2 ประการ ได้แก่ ราคาที่ดินที่สูงขึ้นในพื้นที่ย่านไพร์ม และความต้องการสะสมจากผู้ซื้อที่ชะลอการซื้อเมื่อปี พ.ศ. 2559

กราฟที่ 5  

ราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตร

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา:  ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย

แนวโน้มด้านอุปทาน

เมื่อเร็วๆนี้ นักพัฒนาโครงการไม่เพียงแค่ร่วมมือกับบริษัทสถาปัตยกรรมและบริษัทก่อสร้างที่มีชื่อเสียงเท่านั้น แต่ยังร่วมดำเนินงานกับศิลปินระดับประเทศและต่างชาติที่มีชื่อเสียงหลายราย เพื่อรังสรรค์ออกแบบที่พักอาศัยระดับไพร์มและเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในการใช้ชีวิตในเมือง โดยจะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน โครงการใหม่ๆ หลายแห่งออกแบบภายนอกอาคารให้มีความน่าสนใจ สวยงามและโดดเด่น ในขณะที่การออกแบบตกแต่งภายในเน้นความสร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์ เลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพและเฟอร์นิเจอร์ที่ทันสมัย ยกตัวอย่างเช่นการออกแบบของดีไซน์เนอร์ชาวไทยและชาวต่างติที่มีชื่อเสียงบริเวณล็อบบี้หลักและพื้นที่ส่วนกลางของโครงการวิตโตริโอ สุขุมวิท 39 (VITTORIO Sukhumvit 39), เครื่องใช้ในครัวระดับไฮเอนด์ของ Gaggenau ที่ติดตั้งภายในโครงการสินธร ต้นสน (Sindhorn Tonson) และเฟอร์นิเจอร์จาก Ralph Lauren ในโครงการไนน์ตี้เอท ไวร์เลส (98  Wireless) ทั้งหมดนี้ถูกรังสรรค์เพื่อให้เหมาะกับการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้ซื้อเศรษฐี โดยโครงการคอนโดใหม่ๆ บางแห่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องทำเล็บ, สปาและห้องนวด, สระว่ายน้ำสปา, และห้องรับประทานอาหารส่วนตัวที่มีพ่อครัวส่วนตัวจากโรงแรม 5 ดาวพร้อมให้บริการ

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23