สร้างกลไกเชื่อม ‘อีอีซี-จีน’ ดึงลงทุนดิจิทัล-สตาร์ทอัพ

1366

รัฐบาลไทยเร่งผลักดันกลไกความร่วมมืออีอีซี-กวางตุ้ง-ฮ่องกง หวังดึงการลงทุนจากจีนเพิ่มมากขึ้น เน้นกลุ่มดิจิทัล-สตาร์ทอัพ

มณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า หรือ Greater Bay area (GBA) ซึ่งมีความเจริญทางเศรษฐกิจและนวัตกรรม มีเทคโนโลยีทันสมัย และเป็นจุดบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่สำคัญของจีนและของโลก และจีนต้องการให้เป็นพื้นที่ซึ่งเชื่อมโยงการลงทุนกับพื้นที่ต่างกับโลกภายนอก ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะเชื่อมการลงทุนระหว่างพื้นที่ดังกล่าวกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นำคณะผู้บริหารเยือนพื้นที่ GBA ระหว่างวันที่ 20–25 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยนำรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องร่วมคณะทั้งนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 

รวมถึงนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายคณิศ แสงสุพรรณ คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อหารือกับผู้บริหารระดับสูงของมณฑลกวางตุ้งและฮ่องกง ในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและชักจูงการลงทุนมาอีอีซี

นายสมคิด กล่าวว่า ปัจจุบันจีนให้ความสำคัญกับนโยบาย เส้นทางสายไหมใหม่ (One belt one road) ซึ่งเป็นนโยบายที่ประกาศโดยนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีน และพื้นที่สำคัญของ One belt one road ที่จีนใช้เป็นหัวหอกของการลงทุนก็คือพื้นที่ GBA โดยจีนกำลังกำลังผลักดัน One belt one road ในขณะที่ไทยกำลังผลักดันอีอีซีให้เป็นรูปธรรม 

Advertisement

ทั้งนี้ เป็นเวลาเหมาะที่ GBA ในฐานะหัวหอกการลงทุนของ One belt one road ที่จะเชื่อมความร่วมมือมาไทย ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการลงทุนของอาเซียน โดยเฉพาะในอีอีซี และให้เกิดการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมที่มีการพัฒนาอย่างมากไปลงทุนในไทย ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายและนโยบายไทยแลนด์ 4.0

รวมทั้งเพื่อให้เกิดความร่วมมือเป็นรูปธรรมระหว่าง GBA กับอีอีซี จึงได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน 3 ฉบับ ได้แก่ 1.การลงนามระหว่าง สกพอ.กับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง 

2.การลงนามระหว่างสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กับบริษัทหัวเว่ยในการพัฒนาประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลและ ICT สำหรับภูมิภาคอาเซียน 

3.การลงนามร่วมกันระหว่าง สกพอ.กับสมาพันธ์อุตสาหกรรมฮ่องกง (Federation of Hong Kong Industries) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างอีอีซีกับฮ่องกงในการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกันในอนาคต

157218849281

นอกจากนี้ในการหารือกับผู้บริหารระดับสูงใน GBA ได้แก่ นายหลี่ ซี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลกวางตุ้ง นายเฉิน หรูกุ้ย​ นายกเทศมนตรี​เมืองเซินเจิ้น​ นางหวูอี่หวน รองนายกเทศมนตรีเมืองเซินเจิ้น 

ไทยได้เสนอกับเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลกวางตุ้งว่าควรมีการสร้างกลไกความร่วมมือร่วมมือในระดับรัฐมนตรี เพื่อติดตามความคืบหน้าการทำงานระหว่าง GBA กับอีอีซีโดยเมื่อกลไกความร่วมมือเกิดขึ้นและเชื่อมโยงอีอีซีกับ GBA ของจีนจะทำให้เอกชนของจีนเข้ามาลงทุนในไทยอีกมากเพราะเห็นการเชื่อมโยงและโอกาสการลงทุนในภูมิภาค

รวมทั้งหารือ นางแครี่ หล่ำ ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ซึ่งได้มีการหารือถึงโอกาสและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยไทยแสดงให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างอีอีซีกับฮ่องกง ซึ่งอีอีซีจะเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมและศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของอนุภูมิภาคเพื่อสนับสนุนให้กลุ่มประเทศ CLMVT ที่ก้าวสู่การเป็นอนุภูมิภาคที่รวมกันเป็นหนึ่งทางเศรษฐกิจ (Single Economy) ภายในปี 2020 ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่ง ด้านทรัพยากรมนุษย์และการเป็นซัพพลายเชนของโลก

การเยือนจีนครั้งนี้ ได้หารือบริษัทเอกชนชั้นนำหลายบริษัท ได้แก่ นายเหรินเจิ้งเฟย ประธานและผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ย ได้หารือถึงเทคโนโลยีคลื่นความถี่ 5G การพัฒนาคนและสร้างบุคลากร โดยหัวเว่ยมีแผนที่จะเปิด Academy ในอีอีซี

ส่วนการหารือกับผู้บริหารของบริษัทไมเดียกรุ๊ป (Midea Group) ณ เมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้ง โดยบริษัทลงทุนในไทยแล้วและกำลังตัดสินใจลงทุนเพิ่มในอีอีซี เพื่อตั้งศูนย์วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้ชักชวนให้ตัดสินใจมาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น และให้บีโอไอดูแลด้านสิทธิประโยชน์อย่างดีที่สุด

รวมทั้งหารือกับผู้บริหารบริษัท Primax และบริษัท Tymphancy ผู้นำเทคโนโลยีทางเสียงของไต้หวัน ซึ่งตัดสินใจมาลงทุนไทยหลังเปรียบเทียบการลงทุนใน 8 ประเทศ ซึ่งเตรียมที่จะยื่นขอบีโอไอเร็วๆนี้

ส่วนบริษัทอื่นที่สนใจมาลงทุนไทยได้หารือกับบีโอไอ ซึ่งได้ให้ความมั่นใจในการมาลงทุนในไทยจะรองรับการลงทุนเพื่อขยายตลาดไปอาเซียนและ CLMVT ได้ในอนาคต

การหารือเพื่อดึงบริษัทจีนเข้ามาลงทุนในไทยได้ให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยได้หารือกับบริษัท Quantum Hi–Tech (China) Biological ซึ่งเป็นผู้นำเรื่องอุตสาหกรรมชีวภาพและผลิตยาแก้อาการโรคเบาหวานที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบ ขณะที่บริษัท Hairma ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็แสดงความสนใจในการลงทุนในไทยเช่นกัน 

ในขณะที่บริษัท Shenzhen Forms Syntron Information และบริษัท Shenzhen YUTO Packaging Technology และบริษัท DJI Sciences and Technologies ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่มีเทคโนโลยีของตัวเอง เช่น DJI มีเทคโนโลยีโดรน รวมทั้งบริษัทดังกล่าวมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองเซินเจิ้นและพร้อมที่จะขยายการลงทุนมายังไทย

“การเชื่อมโยงระหว่าง GBA ผ่านไทยสู่อาเซียนจะเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่จะได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ตามเจตนารมณ์ของการพัฒนาเส้นทางสายไหมใหม่ โดยสร้างความร่วมมือระหว่างอีอีซีของไทยกับกวางตุ้ง ที่เน้นเป็นพิเศษในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม”นายสมคิด กล่าว

ที่มา : www.bangkokbiznews.com

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23