ปีหน้าคิกออฟ มิกซ์ยูส”บางซื่อ”32ไร่ จี้สร้างศูนย์การค้ารับรถไฟฟ้าสายสีแดง

885

สำหรับโครงการมิกซ์ยูสพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธินแปลง A ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ย่านพหลโยธิน 2,325 ไร่ ก่อนที่ “ร.ฟ.ท. การรถไฟแห่งประเทศไทย”จะตกผลึกร่างที่โออาร์ประกาศเชิญชวนในเดือน ม.ค.2562

เอกชนไทย-เทศ สนใจเพียบ

รอบนี้มีเอกชนรายใหญ่ 100 ราย ให้ความสนใจหลากหลายทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ค้าปลีก สถาบันการเงิน อาทิ ทีซีซีกรุ๊ป,ซี.พี.แลนด์,ยูนิเวนเจอร์,เว็นทรัลพัฒนา,สิงห์เอสเตท,แลนด์แอนด์เฮ้าส์,สยามแม็คโคร,เดอะมอลล์ กรุ๊ป,แสนสิริ,ดิเอราวัณ กรุ๊ป,บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM),โนเบิล ดีเวลลอปเม้นท์,บางกอกแลนด์,พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค,ศุภาลัย,บจ.เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์(เครือ ปตท.)ส่วนต่างชาติ อาทิ คิวซูเรลเวย์,มิตซูซิบิ เอส เตท เอเซีย จากประเทศญี่ปุ่น โดยเอกชนขอขยายระยะเวลาสัมปทานจาก 30 ปี เป็น 50 ปี และมีข้อกังวลสร้างตึกสูงได้ไม่เกิน 150 เมตร

ประเดิมโซนเอ 32 ไร่

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า) จัดทำ”แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน”พื้นที่รวม 2325 ไร่ แบ่งพื้นที่ 9 แปลง มีระยะการพัฒนา 3 ระยะ ใช้เวลา 2 ปี 2566-2570 โซน C,F,G และระยะที่ 3 ปี 271-2575 โซน B,D,H,I สำหรับพื้นที่ A มีเนื้อที่ 32 ไร่ เป็นพื้นที่อยู่ในทำเลมีศักยภาพเนื่องจากอยู่ห่างจากสถานีกลางบางซื่อ 500 เมตร มีโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมการเดินทางทั้งทางรถไฟฟ้า รถบีอาร์ที ทางด่วนและถนนที่อยู่โดยรอบ และภายนอกในโครงการ เช่น ถนนกำแพงเพชร ถนนพระรามที่6 ถนนเทอดดำริ เป็นต้น

Advertisement

นายวรวุฒิ กล่าวว่า จะแบ่งพัฒนาที่ดินแปลง A เป็น 3 เฟสย่อย คือ พื้นที่ A1 เนื้อที่ 9.58 ไร่ พื้นที่ A2 เนื้อที่ 8.95 ไร่ และพื้นที่ A3 เนื้อที่ 13.58 ไร่ โดยจะเร่งเอกชนผู้ชนะประมูลพัฒนาโซนเป็นศูนย์การค้าก่อนอันดับแรก เพื่อมาสนับสนุนการบริการสถานีกลางบางซื่อจะเปิดในปี 2564 คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการประมาณ 208000 เที่ยวคนต่อวัน เพราะจะเป็นศูนย์กลางด้านการเดินทางของระบบรางมีทั้งรถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง และรถไฟระยะไกล ในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากนั้นจะเปิดบริการเต็มโครงการได้ในปี 2566

“มีทั้งเอกชนไทยและต่างชาติหลายรายที่สนใจจะลงทุน ทั้งเซ็นทรัล เดอะมอลล์ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ซึ่งสามารถร่วมลงทุนกันมาพัฒนาก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย คือต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49%”

ขณะที่การพัฒนาสมาร์ทซิตี้หรือเมืองอัจฉริยะ หากเอกชนสนใจจะลงทุนพัฒนาสามารถยื่นเสนอมาได้ เนื่องจากย่านพหลโยธินเป็น 1 ใน 10 พื้นที่ ที่รัฐบาลประกาศส่งเสริมให้เป็นสมาร์ทซิตี้อยู่แล้ว ซึ่ง ร.ฟ.ท. จะดำเนินการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ เช่น สำนักงานสงเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เป็นต้น ซึ้งสมาร์ทซิตี้พหลโยธินเป็น 1 ใน พื้นที่เป้าหมายที่ ปตท.สนใจจะร่วมกับนักลงทุนญี่ปุ่น ปั้นเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ เกาะไปกับไฮสปีดเทรน รอลุ้นถึงที่สุดแล้วจะมีชื่อ ปตท.ลงสนามแข่งกับบรรดาบิ๊กค้าปลีก-อสังหาฯหรือไม่

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23