ภาษีที่ดิน ส่อเลื่อนใช้ปี 63 โยนหน่วยงานท้องถิ่นไม่พร้อม

1018

ส่อเค้าเลื่อนการบังคับใช้ กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หลังจากที่คณะกรรมมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้ขยายระยะเวลาการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวใน “วาระที่ 1” ออกไปสิ้นเดือน ก.ย. นี้ จากเดิมมีกำหนดพิจารณาใน ก.ค. ที่ผ่านมา โดยการเลื่อน ระยะเวลาครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 8 นับจาก คณะกรรมมาธิการรับหลักการของร่างกฎหมายเมื่อวันที่ 30 มี.ค.2560 เหตุผลที่คณะกรรมมาธิการฯนำมากล่าวอ้างถึงการเลื่อนระยะเวลาการพิจารณา คือความรอบคอบในการพิจารณา ร่างกฎหมายนี้ เนื่องจาก เป็นกฎหมายใหม่ ที่จะกระทบต่อผู้ที่มีทรัพย์สินทั้งที่เป็น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชนิดต่างๆ ทั่วประเทศ ขณะที่ ความไม่พร้อมของหน่วยงาน จัดเก็บภาษี ซึ่งในร่างฯกำหนดให้ท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินการ ทำให้ต้องมีการซักซ้อมทำความเข้าใจ เพราะถือเป็นภาระกิจใหม่ ก็เป็นอีกหนึ่งในสาเหตุ

นอกจากนี้การปรับปรุงร่างฯ เพื่อลดกระแสการต่อต้านและทำให้เกิดการยอมรับของทุกฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มนายทุนที่มีทรัพย์สินจำนวนมากก็เป็นสาเหตุนึงที่ทำให้ล้าช้า อย่างไร่ก็ดี ด้วยแนวทางการจัดเก้บที่ใช้ ราคาประเมินของกรมที่ดินเป็นฐานในการจัดเก็บภาษี ถือเป็นการปิดช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงภาษีตามกฎหมายภาษีโรงเรือน และที่ดิน และกฎหมายภาษีบำรุงท้องที่ ที่เดิมจะคิดบนฐานค่าเช่า ซึ่งจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจ เสียส่วนใหญ่ ประกอบกับ การกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสำหรับที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของนายทุน และนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เก็งกำไรในที่ดินจากเดิมที่ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญต่อการต้านกฎหมายนี้

วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประทานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างระบุว่า การบังคับใช้ กฎหมายภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างจะเกิดขึ้น ได้ทันในปี 2562 หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความพร้อม ของหน่วยงานที่จะเก็บภาษี โดยเฉพาะท้องถิ่นต่างๆ ที่จะเป็นผู้เข้าไปสำรวจ สิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษี และหน่วยงานที่จะทำหน้าที่แระเมินภาษี ดังนั้นในระหว่างนี้ หน่วยงานดังกล่าว จะต้องมีการซักซ้อมแนวทางปฎิบัติให้เกิดความเข้าใจ และชัดเจน เมื่อพร้อมแล้ว ก็เชื่อว่า กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ได้ในทันปี 2562 แต่หากไม่พร้อม ทางคณะกรรมาธิการ ก็ต้องหาทางออกอื่น

ทั้งนี้คณะกรรมาธิการพิจรณา ร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้ลงมติในหลักการที่สำตัญของตัวร่างกฎหมายฉบับนี้ไปแล้ว รวมถึง อัตราภาษีและขั้นบันไดของภาษี ของประเภทที่ดินในแต่ละประเภท โดยมีหลักการสำคัญ เช่น ประเภทที่ดินเพื่อการเกษตร ที่มาราคาประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท และที่ดิน และบ้านหลังหลักที่อยู่อาศัย ราคาประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับยกเว้นภาษีนี้

สำหรับเพดานอัตราภาษีนั้น ทางคณะกรรมาธิการได้ปรับลดเพดานภาษีลงประมาณ 40% จากร่างเดิมโดยที่ดินเกษตรฯลดลงเหลือ 0.15% จาก 0.2% ที่อยู่อาศัย 0.3% จาก 0.5% อื่นๆ นอกจากเกษตรฯ และที่อยู่อาศัย 1.2% จาก 2% และที่ทิ้งไว้ ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ 1.2% (เพิ่ม 0.3% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 3%) จาก 2% (เพิ่มขึ้น 0.5% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 5%) ส่วนอัตราจัดเก็บจริง จะมีบัญชีแนบท้าย เพื่อจัดเก็บภาษีใน 2 ปีแรก และปีที่ 3 เป็นต้นไป ให้เป็นไปตามที่ร่างกฎหมายที่เสนอ

Advertisement

แหล่งที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 สิงหาคม 2561

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23