ซื้อเวลาหาผู้ชนะไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน ซีพีตัวเต็ง เฉือนBTSเฉียดฉิว!

743

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท) เปิดซองที่ 3 ข้อเสนอราคางารประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ของเอกชน 2 กลุ่มผ่านการพิจรณาซองที่ 2 ข้อเสนอเทคนิค

เลขาฯอีอีซีร่วมเป็นสักขีพยาน

ประกอบไปด้วย 1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์,บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น,บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และ2. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โอลดิ้ง จำกัด,บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์,บจ.ไชน่าเรลเวย์ คอนสตัคชั่น คอเปอร์เรชั่น(CRCC),บมจ.ช.การช่าง และบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) โดยมี นายคณิศ แสงสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย

รถไฟรอต่อรองราคา

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือก กล่าวว่า คณะกรรมการได้เปิดซองราคาแล้ว โดยให้ทั้ง 2 ฝ่ายตรวจสอบราคาว่าถูกต้องหรือไม่ และเพื่อความโปร่งใส ให้ทั้ง 2 ฝ่ายแลกเอกชนตรวจสอบและดูราคาของแต่ละฝ่ายกันแล้ว แต่มีข้อตกร่วมกันจะยังไม่สามารถเปิดเผยราคาได้ จนกว่าที่ปรึกษาจะทำการตรวจสอบเอกสารราคาจนครบถ้วนเรียบร้อย คาดว่าจะสามารถประกาศผลราคาที่แน่นอนได้ภายในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ จากนั้นก่อนจะประกาศผลผู้ชนะจะเจรจาต่อรองกันก่อน คาดว่าจะสามารถประกาศผลการประมูลเสร็จได้ภายในเดือน ม.ค. 2562

Advertisement

รัฐอุดหนุนไม่เกิน 1.2 แสนล้าน

นายวรวุฒิกล่าวว่า สำหรับซองที่ 3 เป็นข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน จะพิจารณา 8 ด้าน ได้แก่ 1.บัญชีปริมาณงาน รวมภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2.แผนธุรกิจในการดำเนินโครงการ 3.แผนการเงิน 4.การจัดหาแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินโครงการ 5.ทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินโครงการและกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินดังกล่าว 6.การคำนวณผลตอบแทนทางการเงินของโครงการตลอดอายุของสัญญาร่วมทุน 50 ปี 7.การคำนวณผลประโยชน์ที่ภาครัฐจะได้รับและการขอรับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ และ 8.อัตราค่าโดยสาร ขณะที่ซองที่ 4 ข้อเสนออื่น ๆ ของผู้ชนะ ทางคณะกรรมการจะนำมาพิจารณาหรือไม่ก็ได้

กลุ่มซี.พี.เต็ง

มีความเป็นไปได้สูงที่่ กลุ่ม ซี.พี. จะเป็นผู้ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากมีความพร้อมทั้งด้านการก่อสร้างที่มีอิตาเลียนไทย ช.การช่าง และ CRCC ยักษ์รับเหมาจากจีนเป็นผู้ก่อสร้างให้ ส่วนการเงินก็ใช้แหล่งเงินกู้จากหลายแห่งร่วม 10 แห่ง ได้แก่ Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport and Urban Development (JOIN) จากประเทศญี่ปุ่น, ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก), ธนาคาร ICBC จากประเทศจีน และสถาบันการเงินในประเทศอีก 4-5 ราย

นอกจากนี้ ทาง ซี.พี.ยังมีที่ดินจำนวนมากหลาย 10,000 ไร่ ในแนวเส้นทาง เช่น ฉะเชิงเทรา จะสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์หรือพัฒนาโครงการเพื่อต่อยอดกับโครงการได้ นอกจากที่ดินสถานีมักกะสัน 150 ไร่ และศรีราชา 25 ไร่ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าทางกลุ่ม ซี.พี.อาจจะให้รัฐอุดหนุนไม่มากก็ได้ ขณะที่บีทีเอสมีประสบการณ์ด้านการเดินรถไฟฟ้ามานาน จะลดต้นทุนตรงนี้ได้ แต่ไม่มีที่ดินจำนวนมากที่จะนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ต่อยอดโครงการได้ ซึ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงจะประสบความสำเร็จเหมือนกับโมเดลต่างประเทศจะต้องมีรายได้จากเชิงพาณิชย์ด้วยถึงจะอยู่ได้

สรุปผลขายทีโออาร์ EEC

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ได้รายงานภาพรวมการดำเนินงานในพื้นที่ EEC ตลอดปี 2561 ซึ่ง 4 โครงการ (project list) ได้ขายซอง TOR ให้เอกชนแล้ว ได้แก่ โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เอกชนซื้อซอง 42 ราย, โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เอกชนซื้อซอง 32 ราย, โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เอกชนซื้อซอง 18 ราย และโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ได้ประกาศรายละเอียดท่าเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกเอกชน โดยไม่ใช้วิธีการประมูล และวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมาให้เอกชนที่จะได้รับการคัดเลือกส่งเอกสารกลับมาภายในกลางเดือน ก.พ. 2562

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 ธันวาคม 2561

 

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23